ตั้งค่าหลังเพิ่ม HDD (ฮาร์ดดิส) ตัวใหม่ในเครื่องแล้วไม่เห็น Windows 10

Hard Disk ทำงานอย่างไร และกำลังจะสูญพันธุ์จริงหรือไม่

กล่าวได้ว่าไม่มีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC) คนใดไม่รู้จัก ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) คือส่วนประกอบชิ้นสำคัญของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ดุจคลังเก็บข้อมูลทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ สื่อสารสนเทศ แอนตี้ไวรัส โปรแกรมต่าง ๆ เพราะฉะนั้น หากฮาร์ดดิสก์เกิดความเสียหายหรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติแล้ว นี่คือหนึ่งในหายนะที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนหวาดกลัวมากเลยทีเดียว เพราะหมายถึงข้อมูลทั้งหมดที่ถูกเก็บบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์มีโอกาสที่จะสูญหายไปโดยไม่สามารถเก็บกู้คืนมาได้ ด้วยเหตุนี้ ฮาร์ดดิสก์จึงเปรียบได้กับกล่องดวงใจ ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องหมั่นดูแลรักษาให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งบางคนอาจดัดแปลงเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการใช้งานของตนเองได้ด้วยเช่นกัน

หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์ คือ การใช้สารแม่เหล็กบันทึกข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ลงไปบนจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งจะมีการหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน เพราะฉะนั้น เสียงคล้าย ๆ พัดลมกำลังทำงานที่หลายคนได้ยินเวลาบันทึกข้อมูลลงบนคอมพิวเตอร์ก็คือเสียงการทำงานของฮาร์ดดิสก์นั่นเอง โดยปกติแล้ว หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ที่วิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูลเวลาที่คลิกบันทึกไฟล์ต่าง ๆ นั้นจะมีความเร็วในการหมุนประมาณ 30,000 นิ้ว/วินาที หรือประมาณ 270 กม./ชม. เลยทีเดียว โดยข้อมูลที่ได้รับการบันทึกลงในฮาร์ดดิสก์นั้นจะถูกเก็บรักษาอยู่ภายในโดเมนแม่เหล็กซึ่งมีขนาดเล็กมาก และโดเมนดังกล่าวนี่เองที่เป็นหัวใจสำคัญในการทำงานของฮาร์ดดิสก์ภายนอก (external hard disk) ที่ยิ่งมีขนาดเล็กมากเท่าไหร่ก็ยิ่งสามารถกักเก็บข้อมูลได้มากขึ้นเท่านั้น

ความเร็วรอบในการอ่าน และเขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานบันทึกข้อมูลลงไปภายในฮาร์ดดิสก์ โดยความเร็วปกติในปัจจุบันนั้นจะอยู่ประมาณ 5400 rpm และ 7200 rpm ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ความเร็วในการบันทึกข้อมูล 5400 rpm ในแล็บท็อบนั้นจะช่วยประหยัดแบตเตอรี่ในกรณีที่จำเป็นต้องนำออกไปใช้งานนอกสถานที่ ขณะที่ความเร็ว 7200 rpm อาจจะมีความเหมาะสมกับผู้ที่ทำงานด้านกราฟฟิกที่ต้องใช้ความเร็วในการเรนเดอร์งานที่มีความซับซ้อนต่าง ๆ รวมไปถึงเกมเมอร์ที่ต้องใช้กราฟฟิกหน้าจอที่มีความคมชัดสูง ซึ่งความเร็วในการบันทึกข้อมูลเหล่านี้นั้น ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มได้ตามความต้องการใช้งานของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการดัดแปลงเพียงเล็กน้อย หรือการเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่ทั้งชุดก็สามารถทำได้เช่นกัน

สนใจบริการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ภายในสำนักงานไหม? ที่วันบีลีฟ เราเป็นบริษัท IT Outsources ให้บริการงานดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายภายในบริษัท คอมเสีย ติดไวรัส พิมพ์ไม่ออก หรือแม้กระทั่ง Hard Disk เสีย กู้ไฟล์ไม่ได้ เราสามารถดูแลให้คุณได้ ทั้งการสำรองข้อมูลเป็นประจำ และการแก้ไขอาการเสียของคอมพิวเตอร์

หากใช้งานคอมพิวเตอร์มาเป็นระยะเวลานาน บางครั้งชิ้นส่วนภายในรวมถึงฮาร์ดดิสก์อาจจะมีความทรุดโทรมลงไปบ้างตามกาลเวลา ซึ่งจะพบว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องนำคอมพิวเตอร์ไปพบช่างเพื่อเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่ เมื่อพบสัญญาณต่อไปนี้

ไฟดับบ่อย ๆ นั้นเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลเสียในระยะยาวต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างแน่นอน โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีอุปกรณ์ UPS สำหรับสำรองไฟฟ้า หากใช้งานอยู่ดี ๆ แล้วปรากฏว่าไฟดับลงไปพร้อมกับคอมพิวเตอร์บ่อย ๆ นั่นหมายความว่าฮาร์ดดิสก์กำลังตกอยู่ในจุดเสี่ยงอันตรายที่จะเสียหายอย่างหนัก และพังลงไปพร้อมกับข้อมูลต่าง ๆ เพราะฉะนั้น จึงควรหาฮาร์ดดิสก์ภายนอกมาสำรองข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์กันไว้ก่อน จากนั้นก็ให้หาอุปกรณ์ UPS มาใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟดับกะทันหัน เพราะเมื่อเทียบราคาของ UPS กับความเสี่ยงที่ฮาร์ดดิสก์จะดับลงไปพร้อมกับไฟดับนั้น ย่อมมีความคุ้มค่ามากกว่าอย่างแน่นอน

หากทำงานอยู่ในห้องที่เงียบสงัด แต่กลับได้ยินเสียงดังติ๊ก ๆ ที่ไม่ใช่เสียงเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมระบายอากาศจาก CPU และเมื่อเงี่ยหูฟังดี ๆ ก็พบว่าเสียงปริศนาดังกล่าวดังออกมาจากฮาร์ดดิสก์ หากเป็นเช่นนั้นก็มีความเป็นไปได้สูงว่าชุดขับเคลื่อนมอเตอร์หรือหัวอ่านฮาร์ดดิสก์อาจกำลังมีปัญหาเสียแล้ว โดยเฉพาะในกรณีของหัวอ่านที่หากเวลากำลังบันทึกงานลงในคอมพิวเตอร์นั้น มีเสียงติ๊ก ๆ ดังรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากหัวอ่านที่ติดขัดกับแผ่นจานของฮาร์ดดิสก์อยู่ ซึ่งหากเป็นกรณีนี้ควรยก CPU ไปให้ช่างตรวจสอบโดยเร็ว เพราะหากปล่อยไปอาจจะเป็นอันตรายต่อข้อมูลทั้งหมดที่เก็บไว้ภายในคอมพิวเตอร์ได้

หนึ่งในปัจจัยสาเหตุที่นำไปสู่อาการคอมค้างนั้น มีความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์รวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะเวลาที่กำลังบันทึกข้อมูลหรือ Save ไฟล์งานลงในคอมพิวเตอร์ แล้วพบว่าระบบปฏิบัติการทำงานนานผิดปกติจนกระทั่งค้างไปเลย ก็เป็นไปได้สูงว่าฮาร์ดดิสก์กำลังทำงานบกพร่องด้วยเหตุปัจจัยบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายไฟไปหล่อเลี้ยงฮาร์ดดิสก์ไม่พอ หรือฮาร์ดดิสก์มีความเสียหายเนื่องจากใช้มาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ควรแกะ CPU ออกมาเพื่อเช็คความผิดปกติ หรือหากไม่ถนัดก็ควรนำไปให้ช่างซ่อมคอมมืออาชีพช่วยตรวจสอบความผิดปกติ เพราะเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์ค้างบ่อย ๆ นั้นมีอยู่มากมายด้วยกัน และแต่ละเหตุล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อการทำงานในภาพรวมทั้งสิ้น

หนึ่งในปัญหาที่พบได้ง่ายในคอมพิวเตอร์ที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างสูง ความผิดปกติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะมีที่มาจากพัดลมระบายอากาศที่ทำงานบกพร่อง แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติทั้ง ๆ ที่เพิ่งเปิดเครื่องได้ไม่นานนั้นอาจจะมาจากมอเตอร์ที่ได้รับแรงดันไฟฟ้ามากเกินไปหรือขาดเสถียรภาพจนทำงานผิดพลาด ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าวไม่ควรปล่อยเอาไว้ เพราะอาจนำไปสู่เหตุไฟฟ้าลัดวงจรที่ทำให้ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ล้มเหลว และทำให้ฮาร์ดดิสก์เกิดความเสียหายได้

หากกำลังใช้งานโปรแกรมทำงานอยู่ดี ๆ แล้วจู่ ๆ มันก็ค้างไปอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย โดยที่ไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับหน่วยความทรงจำเต็มหรือคอมพิวเตอร์ติดไวรัส กรณีนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อฮาร์ดดิสก์มีปัญหาเกี่ยวกับ Bad Sector ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากเป็นเช่นนั้น วิธีการแก้ไขเดียวที่สามารถทำได้คือ การสำรองข้อมูลทั้งหมดไว้ใน Cloud หรือ External Hard disk จากนั้นก็นำคอมพิวเตอร์ไปให้ช่างเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่ทั้งชุดก็จะช่วยให้ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์กลับมาทำงานได้ตามปกติ

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเลต ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลไว้ใน Cloud ได้แบบสะดวกสบาย และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่าง Google Drive และ Microsoft One Drive จึงอาจทำให้ Hard Disk และ External Hard Disk มีการใช้งานน้อยลงและเข้าสู่ภาวะสูญพันธุ์ตามอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนทางเทคโนโลยี (technological disruption) ไปในท้ายที่สุด

SSD เทียบกับ HDD: การเล่นเกม, ความเร็ว และการถ่ายโอนข้อมูล

SSD มีน้ำหนักเบากว่า HDD, ใช้พลังงานน้อยกว่า และโดยรวมแล้วไม่สั่นสะเทือน เนื่องจากไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ นอกจากนี้ ยังสามารถทนต่ออุบัติเหตุการตกหล่นได้ดีกว่า HDD SSD จัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ลงใน “เซลล์” ซึ่งทำให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่า HDD แบบหมุน

โดยทั่วไป SSD ทนทานกว่า HDD ในด้านการพกพาและอุบัติเหตุตกหล่น SSD รุ่นที่ทนทานแข็งแกร่ง เช่น สามารถทนทานต่อการตกที่ระดับสูงถึง 1.98 เมตร (บนพื้นปูพรม) ในขณะที่ถ้าเป็น HDD จะเกิดความเสียหายอย่างมาก

HDD ยังมีการใช้งานโดยสถาบันขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร รัฐบาล และศูนย์ข้อมูล เพราะราคาต่อ GB ต่ำกว่า SSD และเมื่อ คุณต้องจัดการกับข้อมูลปริมาณมหาศาล ต้นทุนจึงเป็นปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา ถ้าความทนทานเป็นสิ่งสำคัญเมื่อคุณต้องทำงานขณะเดินทาง คุณจึงควรมีไดรฟ์แบบพกพา เช่น G-DRIVE ที่สามารถรองรับการกระแทกและภาวะสมบุกสมบันได้

ตั้งค่าหลังเพิ่ม HDD (ฮาร์ดดิส) ตัวใหม่ในเครื่องแล้วไม่เห็น Windows 10

วันนี้จะแนะนำกรณีของการเพิ่ม HDD/SSD ฮาร์ดดิสใหม่ในเครื่องคอมฯ Windows 10 แล้วเครื่องไม่เห็นฮาร์ดดิสที่เพิ่มไป บูตใหม่ก็ไม่ขึ้น ฮาร์ดดิสใหม่พึ่งซื้อมายังไม่เคยใช้ แต่เครื่องไม่เห็น ซึ่งการเพิ่มในตัวอย่างนี้จะเป็นกรณีของฮาร์ดดิสที่ไม่ใช่ตัว Boot Windows นะครับ

บทความนี้เนื่องจากมีคำถามมาจากลูกค้าที่บอกว่าซื้อ SSD + Enclosure พอประกอบเชื่อมกับเครื่องแล้วไม่ขึ้น สาเหตุเนื่องจากว่า SSD ยังไม่ได้สร้างพาติชั่นนั้นเอง ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันที่จะเพิ่ม hdd/ssd เข้าไปในเครื่อง pc, laptop ที่ใส่ ssd + hdd ได้มากกว่า 1 ตัว

1. เปิดเข้าไปที่หน้า Disk Management โดยให้กดปุ่ม Windows + X ที่แป้นพิมพ์ และเลือก Disk Management

2. ที่หน้าต่าง Disk Management หลังจากที่เปิดหน้าต่างก็จะมีกล่องแจ้งเตือนว่ามี Local Disk ใหม่ ให้เลือกที่ Ok

3. จากนั้นที่หน้า Disk Management จะแสดง Disk ที่ยังไม่ได้สร้างพาติชั่น ซึ่งก็คือดิสใหม่ ให้คลิกขวาที่ดิสใหม่ แล้วเลือก New Sample Volume…

แล้วจากนั้นก็รอสักครู่ระบบจะทำการ Format ข้อมูลในฮาร์ดดิสใหม่ แล้วก็จะสร้างไดรฟ์ขึ้นใหม่ โดยตรวจสอบที่หน้า This PC จะแสดง Local Disk ใหม่ขึ้นมาแล้วครับ

เสร็จขั้นตอนการตั้งค่าสำหรับเพิ่มดิสใหม่ในเครื่องแล้วครับ ซึ่งตั้งค่าแค่เพียงครั้งแรกเท่านั้น หลังจากนี้ฮาร์ดดิสตัวใหม่นี้หากนำไปเชื่อมต่อคอมฯเครื่องใหม่ ก็จะแสดงไดรฟ์ขึ้นมาให้ใช้งานได้ทันที

Write a Comment