อุปกรณ์เก็บข้อมูลดิจิตอลคืออะไร

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล - 31071watcharaporn

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลการนำข้อมูลเข้าสูระบบคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางอุปกรณ์นำข้อมุลเข้าชนิดต่างๆ นั้นเมื่อนำข้อมูลไปประมูลผลแล้ว ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ผ่ายในหน่วยความจำหลัก คือ แรม (RAM) แต่เมื่อปิดเครื่องข้อมูลที่อยู่ภายในแรมก็จะถูกลบทิ้งไป ทำให้ไม่สามารถเรียกข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้อีก ดังนั้น เมื่อข้อมูลที่ผ่านการประมูลผลแล้ว และถูกนำไปไว้ในหน่วยความจำหลัก ถ้าเราต้องการที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อีกในอนาคต จะต้องทำการย้ายข้อมูลหน่วยความจำหลักไปเก็บไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Seondary storage) โดยจะมีสื่อที่ใช้ในการเก็บข้อมูลสำรองหลายชนิด ได้แก่ ฟลอปปีดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี หน่วยความจำชนิดแฟลช เป็นต้น 1.1ฟลอปปีดิสก์ (Floppy disk) เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยมักจะเรียกว่า “ดิสก์เก็ตต์ (Diskette) หรือ แผ่นดิสก์” เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาถูก และไม่ยุ่งยากในการใช้งาน เนื้อแผ่นดิสก์ทำมาจากแผ่นไมลาร์และเคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ห่อหุ้มด้วยพลาสติกแข็งอยู่ภายนอก ที่เปรียบเสมือเกาะป้องกันอันตรายต่างๆ ที่จะมีผลต่อแผ่นดิสก์ เช่น ฝุ่นละออง รอยขีดข่วน ในอดีต แผ่นดิสก์จะมีขนาดใหญ่ ๕.๒๕ นิ้ว มีความจุน้อย ไม่สะดวกในการพกพา และได้ยกเลิกการใช้งานไปแล้ว ปัจจุบันได้นำแผ่นดิสก์ขนาด ๓.๕ นิ้วมาใช้แทน โดยมรขนาดความจุข้อมูลที่สูง ราคาถูก มีความสะดวกในการพกพาและมีความสะดวกในการใช้งานมากกว่าในอดีต เนื่องจากการนำแผ่นดิสก์มาใช้งานนั้นจะต้องทำการจัดโครงสร้างของพื้นที่บนแผ่นดิสก์สำหรับการเก็บบันทึกข้อมูลก่อน ด้วยวิธีฟอร์แมต (Format) ก่อนที่จะสามารถนำแผ่นดิสก์ไปใช้งานได้ โดยผู้ใช้จะต้องจัดโครงสร้างของแผ่นดิสก์ด้วยตัวเอง แต่ในปัจจุบันได้สร้างความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ยิ่งขึ้น เนื่องจากบริษัทที่ทำการผลิตแผ่นดิสก์ได้ทำการฟอร์แมต (Format) แผ่นดิสก์มาตั้งแต่กระบวนการผลิต ผู้ใช้สามารถนำมาใช้ในทันที จึงผู้ใช้บางคนไม่รู้จัก ไม่เข้าใจความหมายและวิธีการฟอร์แมตแผ่นดิสก์เมื่อทำการฟอร์แมตแล้วแผ่นดิสก์จะถูกแบ่งพื้นที่ออกเป็น แทรก (Trak) คือ การแบ่งพื้นที่ของแผ่นดิสก์ออกเป็นส่วนๆ ตามแนวเส้นรอบวงรอบแผ่นดิสก์ เซกเตอร์ (Sector) คือ การแบ่งพื้นที่ของแทรก แต่ละแทรกออกเป็นส่วนๆ เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล การแบ่งพื้นที่ของแผ่นดิสก์ออกเป็นจำนวนกี่แทรก และกี่เซตเตอร์นั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของแผ่นดิสก์ ปัจจุบันแผ่นดิสก์ที่ใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูล จะมีความจุของแผ่นดิสก์ คือ 1.44 เมกะไบต์(MB) เป็นแผ่นดิสก์ชนิด DS/HD (Double Side High Density) แผ่นดิสก์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้านจะมัจำนวน 80 แทรก แต่ละแทรกมีจำนวน 18 เซกเตอร์และในแต่ละเซกเตอร์จะสามารถจุข้อมูลได้จำนวน 512 ไบต์

1.2 ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คือ อุปกรณ์สำหรับการจัดเก็บข้อมูล มีความจุสูงกว่าแผ่นดิสก์ แต่มีโครงสร้างคล้ายกับแผ่นดิสก์ ลักษณะของฮาร์ดดิสก์ไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล โปรแกรม ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมประยุกต์ แพลตเตอร์(Platters) มีลักษณะเป็นจานคล้ายกับแผ่นดิกส์ทำจากแผ่นอลูมิเนียมแข็งเคลือบด้วยออกไซต์ของเหล็ก ไซลินเดอร์(Cylinder) คือแทรกที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ในแต่ละแพลตเตอร์ออกเป็น แทรก เซกเตอร์ เช่นเดียวกับแผ่นดิสก์ เนื่องจากในแต่ละฮาร์ดดิสก์จะมีหลายแพลตเตอร์ให้หมุนไปพร้อมๆ กัน เรียกว่า “สปินเดล(spindle)” การอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนอาร์ดดิสก์จะต้องมีตัวหัวอ่าน/เขียน ข้อมูลลงบนแพลตเตอร์(Rad/write head)หัวอ่าน/เขียนข้อมูลนั้นไม่สำผัสกับส่วนของแพลตเตอร์โดยตรงแต่จะอาศัยกระแสไฟฟ้าในการอ่าน/เขียนข้อมูล โดยปกติฮาร์ดดิสก์จะมีจำนวน6แพลตเตอร์ในแต่ละแพลตเตอร์จะมี 2 ด้านดังนั้นจะมีทั้งหมด 12 หน้า และในส่วนล่างสุดจะไม่นำมาใช้งาน ดังนั้นหัวอ่าน/เขียน ข้อมูลจึงมีทั้งหมด 11 หัว ในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั้น สามารถบรรจุฮาร์ดดิสก์ได้มากกว่า 1 ตัว แต่เนื่องจากฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีความจุมากเพียงพอต่อการบันทึกข้อมูล และใช้งาน จึงไม่นิยมบรรจุฮาร์ดดิสก์ตัวที่ 2 ไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ถ้าต้องการที่จะบันทึกข้อมูลจำนวนมากเก็บไว้ แต่ไม่สามารถบันทึกเก็บไว้ในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆได้ เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก ก็สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ชนิดพกพา ในการเก็บข้อมูลได้เช่นเดียวกับหน่วยความจำแบบแฟลช สื่อเก็บข้อมูลชนิดแสง เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน มีความจุสำหรับเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟลอปปีดิสก์ แต่น้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ การบันทึกข้อมูลลงในสื่อเก็บข้อมูลชนิดแสง จะมีความแตกต่างจากวิธีการบันทึกขัอมูลลงในสื่อชนิดจากแม่เหล็ก โดยวิธีการบันทึกข้อมูลจะต้องมีอุปกรณ์ และซอฟต์แวร์สำหรับการเขียนข้อมูลลงบนสื่อชนิดนี้โดยเฉพาะ การบันทึกข้อมูลจะถูกบันทึกตามแนวเส้นรอบวงแบบร่องก้นหอย ลักษณะการบันทึกข้อมูลจากข้างในออกมาด้านนอก โครงสร้างของสื่อชนิดนี้จะถูกแบ่งเป็นแทรกแบะมีส่วนย่อยของแทรกเป็นเซกเตอร์ เช่นเดียวกับสื่อเก็บข้อมูลชนิดจากแม่เหล็ก แต่ได้นำหลักการของแสงเข้ามาช่วยในการอ่าน และบันทึกข้อมูล สื่อเก็บข้อมูลแบบแสง ได้แก่ ในฮาร์ดดิสก์ก็ทำให้ไม่สะดวกในการเคลื่อนน้ายข้อมูล จึงทำสื่อชนิดซีดีเข้ามาช่วยในการบันทึกข้อมูล และนอกจากที่ไดัซีดีมาใช้ในการบันทึกข้อมูลต่างๆเหล่านั้น ยังนิยมนำซีดีมาใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลประเภทสื่อมัลติมีเดีย เพลง ภาพยนต์ ข้อดีของการบันทึกข้อมูลลงบนซีดี คือ สะดวกในการพกพา การเคลื่อนย้ายข้อมูลการกำหนดมาตรฐานรูปแบบของการบันทึกข้อมูลลงในสื่อชนิดนี้มีมาตรฐานสากลที่เรียกว่า "มาตรฐานไอเอสโอ 9660" การบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ชนิดใดก็ตาม สามารถที่จะนำแผ่นซีดีนั้นไปอ่านจากเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดใดก็ได้ และนอกจากการนำไปอ่านข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ถ้าเป็นไฟล์ประเภท ภาพ หรือเสียง สามารถนำไปอ่านข้อมูลจากเครื่องเล่น DVD หรือ VCD ได้ แต่ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานการรับรองของเครื่องเล่นแต่ละประเภทและเป็นรูปแบบข้อมูลที่เครื่องเล่นสามารอ่านได้ เช่น mpeg ppe เป็นต้น ถ้าเป็นข้อมูล ข้อความ หรือโปรแกรมก็ไม่สามารถอ่านได้ นอกจากนี้บริษัทฟิลลิปส์ และบริษัทโซนี ได้ร่วมกับบริษัทโกดัก ที่มีความชำนาญด้านการบันทึกภาพแชะกล้องถ่ายรูป ผลิตซีดีที่สามารถบันทึกภาพได้แทนการใช้ฟิล์มถ่ายภาพ และบริษัทโกดักได้ผลิตกล้องถ่ายภาพที่สามารถบันทึกภาพลงบนแผ่นซีดีได้ พร้อมกับเป็นอุปกรณ์สำหรับดูภาพและสามารถพิมพ์ภาพออกมาได้โดยตรง ซีดีชนิดนี้เรียกว่า โฟโต้ซีดี 1. CD Rom (Compact disc read only memory) เป็นสื่อที่ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เช่น ซอฟต์แวร์ชนิดต่างๆ ที่ต้องการนำมาติดตั้งเพื่อใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย เช่น โปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CD -Training ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลจากซีดีรอมได้เพียงอย่างเดียว โดยไม่สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำลงไปบนแผ่นซีดีรอมได้ ส่วนใหญ่ซีดีรอมจะเป็นแผ่นที่มีกระบวนการผลิตสำเร็จรูปจากโรงงานโดยใช้เครื่องจักรในการปั๊มแผ่นสำเนาขึ้นมาในคราวละเป็นจำนวนมาก และผู้ใช้ก็สามารถที่จะนำแผ่นซีดีรอมเหล่านี้ไปใช้งานได้หลายครั้ง จึงนิยมมาใช้กับงานด้านธุรกิจอัตราความเร็วของเครื่องอ่านซีดีรอมในปัจจุบันจะมีความเร็วมากกว่า 50x ความเร็ว 1x (Single Speed) จะมีอัตราเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลประมาณ 150 KBps (Kilobytes Per Secound) ดังนั้น 50x = (50 x 150) มีอัตราความเร็วเท่ากับ 7500 KBps จะมีอัตราเร็วในกาคถ่ายโอนข้อมูลช้ากว่าฮาร์ดดิสก์มาก ฮาร์ดดิสก์มีอัตราเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล ตั้งแต่ 5-15 MBps (Megabytes Per Secound) 2. CD-R (Compact disc recordable) เป็นสื่อที่ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลที่มีราคาถูกมักนิยมนำมาใช้เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรอง มีอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สำหรับการเขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-R เรียกว่า “ CD Writer” นอกจาก CD Writer สามารถเขียนลงบนแผ่น CD-R แล้วยังทำหน้าที่สำหรับอุปกรณ์ในการอ่านแผ่น CD-R ได้ด้วย การเขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-R นั้น ในแต่ละตำแหน่งที่ได้เขียนข้อมูลลงไปแล้วจะสามารถเขียนข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว และจะไม่สามารถลบ หรือแก้ไขข้อมูลเหล่านั้นได้อีก แต่ถ้าการเขียนข้อมูลลงไปยังไม่เต็มพื้นที่ของแผ่นก็จะสามารถเขียนข้อมูลเพิ่มเติมลงบนพื้นที่ว่างนั้นได้อีก ลักษณะการเขียนข้อมูลลงไปบนแผ่น CD-R ได้หลายครั้งนั้น เรียกว่า “มัลติเซสซัน (Multisession)” เป็นการแบ่งพื้นที่ในการบันทึกข้อมูลที่ละส่วนที่เรียกว่า เซสซัน (Session) แต่ละเซสซันประกอบด้วยหลายๆแทรก (Track) การเขียนข้อมูลลงบนCD-R แต่ละครั้งจะทำการเขียนในเซสซันที่ต่อจากเซสซันเดิมที่มีข้อมูลอยู่แล้วไม่สามารถเขียนข้อมูลทับข้อมูลในเซสซันที่ได้มีการเขียนลงไปแล้วได้ 3. CD-RW (Compact disc rewritable) แผ่นชนิดนี้จะมีลักษณะรูปแบบโครงสร้างของแผ่น วิธีการเขียนข้อมูลลงบนแผ่น สามารถเขียนข้อมูลได้หลายครั้งเช่นเดียวกับแผ่น CD-R แต่มีข้อดีกว่าการเขียนข้อมูลของแผ่นCD-R คือ สามารถที่จะลบข้อมูลและเขียนข้อมูลซ้ำไปบนแผ่นได้เช่นเดียวกับแผ่นดิสก์ แต่แผ่นชนิดนี้จะมีราคาสูงกว่าแผ่น CD-R เหมาะกับงานที่ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่บ่อยๆ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อแผ่น เพราะแผ่น CD-RW สามารถลบข้อมูลทิ้งและเขียนข้อมูลใหม่แทนที่ได้ถึงกว่าพันครั้ง สำหรับเครื่องอ่านและเขียนแผ่นซีดีที่เรียดว่า CD Writer นั้นสามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ทั้งแบบแผ่น ที่ได้ทั้งแบบแผ่น CD-R และ CD-RW โดยที่ตัวเครื่องจะระบุความเร็วในการเขียนและอ่านแผ่นซีดีแต่ละชนิดไว้ เช่น 48x 12x 50x หมายความว่า 2.1 DVD (Digital Versatile Disc / Digital Video Disc) สื่อชนิดนี้จะเป็นสื่อที่นิยมนำมาใช้กับการบันทึกข้อมูลที่ต้องการความจุสูง จึงนิยมนำมาใช้กับการบันทึกภาพยนตร์มีความจุได้ตั้งแต่ 4.7-17 กิกะไบต์ และจะมีความจุมากขึ้นในอนาคต การจัดเก็บข้อมูลมีการแบ่งออกเป็นชั้นๆ ที่เรียกว่า “เลเยอร์ (Layer)” การเขียนข้อมูลลงบนแผ่น DVD การบีบอัดข้อมูลที่เรียกว่า “MPEG-2” สำหรับในแผ่น DVD นั้น นอกจากจะสามารถจุข้อมูลได้มากกว่าแผ่นซีดีแล้วนั้น ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของเครื่องอ่านแผ่น DVD จะมีความเร็วที่สูงกว่าเครื่องอ่านแผ่นซีดี เพราะสามารถถ่ายโอนข้อมูลที่ประมาณ 1,350 KBps ในอัตราความเร็วที่ 1x (Single speed) นิยมนำมาใช้กับการบันทึกภาพยนตร์ ทำให้การเคลื่อนไหวกับรูปภาพเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและระบบการบันทึกเสียงลงบนแผ่น DVD จะมีคุณภาพเสียงที่ดีกว่าแผ่นซีดี จากคุณสมบัติที่ดีกว่าแผ่นซีดี จึงทำให้แผ่น DVD มีราคาสูงกว่าแผ่นซีดี การเขียนข้อมูลลงบนแผ่น DVD นั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ในการเขียนข้อมูล คือ DVD Writer และสามารถจัดแบ่งประเภทของแผ่นซีดี จึงทำให้แผ่น DVD มีราคาสูงกว่าแผ่นซีดี 1. DVD Rom คือ แผ่นที่ได้ผ่านกระบวนการผลิตมาจากโรงงานด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นแผ่นที่สามารถอ่านได้หลายๆครั้ง แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูล ลบข้อมูล และเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่ภายใน DVD Rom ได้ 2. DVD-R และ DVD-RW คือแผ่น DVD สามารถเขียนข้อมูลได้ตามมาตรฐาน DVD Forum จะมีความจุข้อมูลสูงสุดเท่ากับ 4.7 กิกะไบต์ ในปัจจุบัน และจะเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคต ที่การเขียนข้อมูลลงบนแผ่น DVD-R นั้น จะเหมือนกับการเขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-R คือ ในแต่ละตำแหน่งบนพื้นที่ของแผ่นจะสามารถเขียนข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว สำหรับ DVD-RW จะมีลักษณะเช่นเดียวกับแผ่น CD-R คือสามารถเขียนข้อมูลซ้ำลงบนตำแหน่งเดิมได้หลายๆครั้ง เหมือนกับแผ่นดิสก์และวิธีการเขียนข้อมูลอาจเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ โยการลบข้อมูลเก่าทิ้งทั้งหมด หรือจะเป็นการนำข้อมูลไหม้มารวมกับข้อมูลเก่าแล้วนำมาเขียนไปพร้อมๆกันก็ได้ 3. DVD+R และ DVD+RW การเขียนข้อมูลลง DVD+R และ DVD+RW จะคล้ายกับวิธีการเขียนของแผ่น DVD ในกลุ่มมาตรฐานเดิม แต่จะมีความเร็วในการเขียนแผ่นมากกว่า การอ่านข้อมูลจากแผ่น DVD จะใช้เครื่องอ่าน DVD เท่านั้น โยไม่สามารถนำแผ่น DVD ไปอ่านจากเครื่องซีดีได้ แต่ถ้าเป็นแผ่นซีดีทั่วๆไป สามารถที่จะนำมาอ่านบนเครื่องอ่าน DVD ได้ ปัจจุบันการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นอกจากการใช้สำหรับการทำงานด้านต่างๆ แล้ว สามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเป็นอุปกรณ์เพื่อความบันเทิง จึงติดตั้งเครื่องอ่าน DVD ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แทนเครื่องอ่านซีดี เพราะเครื่องอ่าน DVD นอกจากอ่านข้อมูลจากแผ่น DVD ได้แล้ว สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีประเภทอื่นๆได้อีกด้วย จึงทำให้สะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น สำหรับไดรว์ที่ใช้เขียนแผ่น DVD ในปัจจุบันจะสามารถเขียนได้ทั้งแบบ +RW และ –RW เรียกว่า “แบบ Dual Format” สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการเก็บข้อมูล (Backup) มีราคาถูก และมีความจุในการบันทึกข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก สื่อชนิดนี้มีการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access) เข้าถึงข้อมูลได้ช้ากว่าแบบโดยตรง (Direct Access) ปัจจุบันมีเทปที่ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลหลายชนิด เช่น แบบม้วนใช้สำหรับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์นอกจากนี้ยังมีเทปชนิด DAT หรือ Digital Audio Tape เป็นเทปที่ใช้สำหรับการบันทึกเพลง เป็นต้น ความเร็วในการอ่านของเครื่องอ่านเทปจะมีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inch Per Second) และมีอัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลมีหน่วยเป็นไบต์ต่อวินาที (Byte Per Second) หน่วยความจำแบบแฟลช เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลแทนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ เนื่องจากเป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเช่นเดียวกับหน่วยความจำแรม (RAM) และเป็นหน่วยความจำที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก สามารถพกพาง่าย นิยมนำมาใช้แทนแผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ และแม้กระทั่งแผ่นซีดีชนิดต่างๆ ใช้งานได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกชนิด มีวิธีการบันทึกข้อมูล ลบข้อมูล หรือการฟอร์แมตเหมือนกับแผ่นดิสก์ จึงทำให้สะดวกในการใช้งาน หน่วยความจำแบบแฟลชมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น Flash Drive, Thumb Drive หรือ Handy Drive ที่สามารถต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์และอ่านข้อมูลได้โดยตรง และระบบปฏิบัติการ Window ที่ใช้งานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะสนับสนุนการใช้งานกับอุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมไดรเวอร์ (Driver) สำหรับติดต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ชนิดใหม่ก่อนที่จะเริ่มใช้งาน นอกจากนี้ยังมีหน่วยความจำแบบแฟลชที่อยู่ในรูปแบบของการ์ดหน่วยความจำ (Memory Card) เช่น Memory Stick, Multimedia Card, Compact Flash, Smart Media และ SD Card เป็นต้น ความจุของหน่วยความจำแบบแฟลชนี้จะมีความจุตั้งแต่ 16 เมกะไบต์ไปจนถึงวามจุที่มีหน่วยความจุเป็นกิกกะไบต์

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล(Data Storage Device)

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล(Data Storage Device) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ( Secondary Storage Device ) การทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อต้องการเก็บบันทึกข้อมูล หรือกลุ่มคำสั่งต่าง ๆ ไว้ใช้ในอนาคตจะไม่สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักได้ เนื่องจากไม่มีพื้นที่เพียงพอ อีกทั้งข้อมูลที่เก็บจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง หากต้องการเก็บข้อมูลที่มากขึ้นและเอาไว้ใช้ประโยชน์ในภายหลัง ก็จำเป็นต้องหาอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง หรือที่เรียกว่า secondary storage ปัจจุบันมีสื่อที่ผลิตมาสำหรับใช้เก็บข้อมูลสำรองหลากหลายชนิด ซึ่งพอจะแบ่งตามรูปแบบของสื่อที่เก็บข้อมูลออกได้เป็น 4 ประเภท 1. สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก ( Magnetic Disk device ) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลประเภทที่ใช้งานเป็นลักษณะของจานบันทึก ( disk )ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้ 1.1 ฟล็อปปี้ดิสก์ ( Floppy disks ) สื่อเก็บบันทึกข้อมูลที่ได้รับความนิยมและใช้งานอย่างแพร่หลาย สามารถหาซื้อใช้ได้ตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดิสเก็ตต์ ( diskette ) หรือแผ่นดิสก์ การเก็บข้อมูลจะมีจานบันทึก ซึ่งเป็นวัสดุอ่อนจำพวกพลาสติกที่เคลือบสารแม่เหล็กอยู่ด้านใน และห่อหุ้มด้วยกรอบพลาสติกแข็งอีกชั้นหนึ่ง แผ่นดิสก์ในอดีตจะมีขนาดจานบันทึกที่ใหญ่มากถึง 5.25 นิ้ว ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมและเลิกใช้งานแล้ว จะเห็นได้เฉพาะขนาด 3.5 นิ้วแทน ซึ่งมีขนาดเล็กและพกพาสะดวกกว่า โครงสร้างการทำงานของแผ่นดิสก์จะต้องมีการจัดข้อมูลโดยการ ฟอร์แมต ( format ) เมื่อใช้ครั้งแรกก่อนทุกครั้ง (ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตมักจะมีการฟอร์แมตแผ่นมาตั้งแต่อยู่ในกระบวนการผลิตแล้ว (ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทำการฟอร์แมตก่อนใช้งานซ้ำอีก) การฟอร์แมตเป็นกระบวนการจัดพื้นที่เก็บไฟล์ข้อมูลก่อนใช้งาน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นการเตรียมพื้นที่สำหรับเก็บบันทึกข้อมูลนั่นเอง โครงสร้างของแผ่นจานแม่เหล็กเมื่อทำการฟอร์แมตแล้วจะมีลักษณะดังนี้ โครงสร้างของดิสก์เมื่อทำการฟอร์แมตแล้ว แทรค ( Track ) เป็นการแบ่งพื้นที่เก็บข้อมูลออกเป็นส่วนตามแนววงกลมรอบแผ่นจานแม่เหล็ก จะมีมากหรือน้อยวงก็ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้น ซึ่งแผ่นแต่ละชนิดจะมีความหนาแน่นของสารแม่เหล็กแตกต่างกันทำให้ปริมาณความจุข้อมูลที่จะจัดเก็บต่างกันตามไปด้วย เซกเตอร์ ( Sector ) เป็นการแบ่งแทรคออกเป็นส่วน ๆ สำหรับเก็บข้อมูล ซึ่งแต่ละเซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์ หากเปรียบเทียบแผ่นจานแม่เหล็กเป็นคอนโดมิเนียมหลังหนึ่งแล้ว เซกเตอร์ก็เปรียบได้เหมือนกับห้องพักต่าง ๆ ที่แบ่งให้คนอยู่กันเป็นห้อง ๆ นั่นเอง แผ่นดิสเก็ตต์ที่พบทั่วไปในปัจจุบันจะเป็นแบบความจุสูงหรือ high density สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 1.44 MB ซึ่งเราอาจคำนวณหาความจุข้อมูลของแผ่นดิสก์ได้โดยการเอาจำนวนด้านของแผ่นจานแม่เหล็ก ( side ) จำนวนของแทรค ( track ) จำนวนของเซคเตอร์ในแต่ละแทรค ( sector/track ) และความจุข้อมูลต่อ 1 เซกเตอร์ ( byte/sector ) ว่ามีค่าเป็นเท่าไหร่ แล้วเอาตัวเลขทั้งหมดมาคูณกันก็จะได้ปริมาณความจุข้อมูลในแผ่นชนิดนั้น ๆ เมื่อเก็บหรือบันทึกข้อมูลแล้วสามารถที่จะป้องกันการเขียนทับใหม่ หรือป้องกันการลบข้อมูลที่อาจเกิดขึ้น โดยเลือกใช้ปุ่มเปิด – ปิดการบันทึกที่อยู่ข้าง ๆ แผ่นได้ ซึ่งหากเลื่อนขึ้น (เปิดช่องทะลุ) จะหมายถึงการป้องกัน ( write-protected ) แต่หากเลื่อนปุ่มลงจะหมายถึง ไม่ต้องป้องกันการเขียนทับข้อมูล ( not write-protected ) นั่นเอง

1.2 ฮาร์ดดิสก์ ( Hard disks ) เป็นอุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูลที่มีโครงสร้างคล้ายกับดิสเก็ตต์ แต่จุข้อมูลมากกว่าและมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่า ส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สำหรับเก็บตัวโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ( operating system ) รวมถึงโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ ฮาร์ดดิสก์ผลิตมาจากวัสดุแบบแข็งจำนวนหลายแผ่นวางเรียงต่อกันเป็นชั้น จานแม่เหล็กแต่ละจาน เรียกว่า แพลตเตอร์ ( platter ) ซึ่งอาจจะมีจำนวนต่างกันได้ในฮาร์ดดิสก์แต่ละรุ่น

2. สื่อเก็บข้อมูลแสง ( Optical Storage Device ) เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งใช้หลักการทำงานของแสงเข้ามาช่วย การจัดเก็บข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก แต่ต่างกันที่การแบ่งวงของแทรคจะแบ่งเป็นลักษณะคล้ายรูปก้นหอยและเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก และแบ่งส่วนย่อยของแทรคออกเป็นเซกเตอร์เช่นเดียวกันกับแผ่นจานแม่เหล็ก

2.1 CD (Compact Disc) เป็นสื่อเก็บข้อมูลด้วยแสงแบบแรกที่ไดรับความนิยมอย่างแพร่หลายและปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ เนื่องจากมีราคาถูกลงกว่าสมัยก่อนมาก ซึ่งแยกออกได้ดังนี้ CD-ROM (Compact disc read only memory) เป็นสื่อเก็บบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้สำหรับการเก็บบันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมประยุกต์เพื่อใช้สำหรับติดตั้งในคอมพิวเตอร์รวมถึงเก็บผลงานไฟล์มัลติมีเดีย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI – computer assisted instruction ) หรือ CD-Training ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียวแต่ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลซ้ำได้ สามารถจุข้อมูลได้ถึง 650-750 MB โดยมากแล้วจะเป็นแผ่นที่ปั๊มมาจากโรงงานหรือบริษัทผู้ผลิตมาแล้ว CD-R (Compact disc recordable) พบเห็นได้ตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป มีราคาถูกลงอย่างมาก แผ่นแบบนี้สามารถใช้ไดรซ์เขียนแผ่น ( CD Write ) บันทึกข้อมูลได้และหากเขียนข้อมูลลงไปแล้วยังไม่เต็มแผ่นก็สามารถเขียนเพิ่มเติมได้ แต่ไม่สามารถลบข้อมูลที่เขียนไว้แล้วได้ เนื่องจากเนื้อที่บนแผ่นแต่ละจุดจะเขียนข้อมูลได้ครั้งเดียว เขียนแล้วเขียนเลยจะลบทิ้งอีกไม่ได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบันทึกไฟล์ข้อมูลเพื่อเก็บรักษาทั่วไป เช่น ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล เพลง mp3 หรือไฟล์งานข้อมูลซึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว CD-RW (Compact disc rewritable) แผ่นชนิดนี้มีลักษณะหน้าตาเหมือนกับแผ่น CD-R ทุกประการแต่มีข้อดีกว่าคือ นอกจากเขียนบันทึกข้อมูลได้หลายครั้งแล้ว ยังสามารถลบข้อมูลและเขียนซ้ำใหม่ได้เรื่อย ๆ เหมือนกับการบันทึกและเขียนซ้ำของดิสเก็ตต์ อย่างไรก็ตามแผ่น CD-RW ขณะนี้ยังมีราคาสูงกว่า CD-R อยู่พอสมควร จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบันทึกข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยและเก็บข้อมูลไว้ในระยะเวลาอันสั้น ไม่ถาวร ซึ่งจะช่วยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก เพราะสามารถลบทิ้งแล้วเขียนใหม่อีกได้ถึงกว่าพันครั้ง 2.2 DVD (Digital Versatile Disc/Digital Video Disc) ผลิตมาเพื่อตอบสนองกับงานเก็บข้อมูลความจุสูง เช่น เพลงหรืองานมัลติมีเดียเพื่อให้เกิดความสมจริงและคมชัดมากที่สุด การเก็บข้อมูลจะมีการแบ่งออกเป็นชั้น ๆ เรียกว่า เลเยอร์ (Layer ) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองด้าน (sides ) ความจุของ DVD จะมีมากกว่า CD หลายเท่าตัว โดยมีตั้งแต่ 4.7 GB - 17 GB การใช้งาน DVD มีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นและคาดว่าจะเข้ามาแทน CD ในอนาคต เนื่องจากราคาของ DVD มีราคาถูกลงอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันมีการนำแผ่น DVD มาประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลายและมีมาตรฐานที่ค่อนข้างแตกต่างกันไม่เหมือนกับแผ่น CD ซึ่งพอจะแยกออกได้ดังนี้ · DVD-ROM เป็นแผ่น DVD ที่ผลิตจากบริษัทหรือโรงงานโดยตรง มักใช้สำหรับเก็บข้อมูลขนาดใหญ่มาก เช่น ภาพยนตร์ความคมชัดสูงและต้องการเสียงที่สมจริง รวมถึงการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่ที่ CD-ROM ทั่วไปไม่สามารถจัดเก็บหรือบันทึกได้ · DVD-R และ DVD-RW เป็นแผ่น DVD ประเภทเขียนข้อมูลได้ตามมาตรฐานขององค์กร DVD Forum มีความจุข้อมูลสูงสุดขณะนี้ 4.7 GB เท่านั้น การเขียนข้อมูลสำหรับ DVD-R สามารถเขียนและบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียวเหมือนกับการเขียนแผ่น CD-R ส่วน DVD-RW จะเขียนและบันทึกข้อมูลซ้ำหลาย ๆ ครั้ง วิธีการเขียนข้อมูลอาจเติมเฉพาะข้อมูลใหม่ลงไปโดยลบอันเก่าทิ้งทั้งแผ่นหรือจะ import ข้อมูลอันเก่ามารวมกับของใหม่แล้วเขียนไปพร้อม ๆ กันก็ได้ · DVD+R และ DVD+RW เป็นกลุ่มของ DVD ที่เขียนข้อมูลได้เช่นเดียวกันแต่เป็นมาตรฐานขององค์กร DVD+RW Alliance ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง มีความจุสูงสุดคือ 4.7 GB และอาจเพิ่มอีกในอนาคต การเขียนข้อมูลของ DVD+Rและ DVD+RW จะคล้าย ๆ กันกับกลุ่มมาตรฐานเดิมแต่ความเร็วในการเขียนแผ่นจะมีมากกว่า ไดรว์เขียนแผ่น DVD ปัจจุบันมักเขียนได้ทั้งแบบ +RW และ – RW เรียกกันว่าแบบ Dual format นอกจากนี้ยังมีไดรว์และแผ่นรุ่นใหม่ที่บันทึกข้อมูลได้มากถึงเกือบสองเท่าของแบบธรรมดา คือจุได้ 8.5 GB (เทียบเท่า DVD-9 ) โดยบันทึกข้อมูลสองชั้นซ้อนกันในด้านเดียว เรียกว่าแผ่นและไดรว์แบบ Double Layer ( บางทีก็เรียก Dual Layer) 3. สื่อเก็บข้อมูลอื่น ๆ ( Other Storage Device ) อุปกรณ์หน่วนความจำแบบแฟรช ( Flash memory device ) ปัจจุบันนำมาใช้บันทึกแทนสื่อเก็บข้อมูลแบบดิสเก็ตต์มากขึ้น เพราะจุข้อมูลได้มากกว่า นิยมใช้กับเครื่องพีซีและคอมพิวเตอร์แบบพกพาทั่วไป มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น flash drive, thumb drive หรือ handy drive โดยสามารถต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์และอ่านค่าข้อมูลนั้นได้โดยตรง

อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟรชนี้อาจอยู่ในรูปแบบของ memory card ที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลประเภทภาพถ่ายหรือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ในอุปกรณ์ดิจิตอลแบบพกพาทั้งหลาย เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอลหรือพีดีเอ ซึ่งมีหลายฟอร์แมต (ดังรูป) เช่นอ Compact Flash (CF), SmartMedia ( เลิกผลิตแล้ว), Secure Digital และ Multimedia Memory Card (SD/MMC ซึ่งมีขนาดเท่ากัน) และ Memory Stick โดยการอ่านข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ดิจิตอลนั้นต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยตรงหรือใช้อุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า card reader ช่วยอ่านข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในได้เช่นเดียวกัน

อุปกรณ์เก็บข้อมูลดิจิตอลคืออะไร

โดยทั่วไปอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลดิจิทัลหมายถึงฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์ประเภทใดก็ได้ที่สามารถใช้เพื่อจัดเก็บไฟล์คอมพิวเตอร์และข้อมูลดิจิทัลอื่น ๆ แม้ว่าสิ่งนี้สามารถอ้างถึงฮาร์ดแวร์หน่วยเก็บข้อมูลชนิดใดก็ได้รวมถึงฮาร์ดไดรฟ์ภายใน แต่คำนี้มักใช้เพื่ออ้างถึงโซลูชันหน่วยเก็บข้อมูลแบบพกพามากขึ้น อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่พบมากที่สุดบางส่วนนั้นรวมถึงฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกที่สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และแฟลชหรือธัมบ์ไดรฟ์ที่มีขนาดเล็กลงและสามารถแลกเปลี่ยนระหว่างฮาร์ดแวร์ได้อย่างรวดเร็ว อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลดิจิตอลยังสามารถรวมการ์ดหน่วยความจำขนาดเล็กลงซึ่งมักใช้ในการจัดเก็บและถ่ายโอนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์เช่นกล้องและสมาร์ทโฟน

วัตถุประสงค์หลักของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลดิจิทัลตามชื่อที่แนะนำคือที่เก็บไฟล์คอมพิวเตอร์และสื่อดิจิทัลอื่น ๆ อุปกรณ์ประเภทนี้ในทางเทคนิคสามารถอ้างถึงฮาร์ดแวร์ประเภทใดก็ได้ที่สามารถใช้เพื่อเก็บข้อมูลดิจิตอล จากนั้นฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ภายในอาจถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลดิจิทัลแม้ว่าจะไม่ได้คิดว่าเป็นอุปกรณ์แยกต่างหากจากส่วนที่เหลือของคอมพิวเตอร์ โดยปกติแล้วฮาร์ดไดรฟ์จะเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ผ่านสายเคเบิลและมักจะวางไว้ในหอคอยหรือเคสคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ภายนอกมักถูกมองว่าเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลดิจิตอลเช่นฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก ฮาร์ดไดรฟ์เหล่านี้มีลักษณะคล้ายกับไดรฟ์ภายในในองค์ประกอบและการออกแบบพื้นฐาน แต่จะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านการเชื่อมต่อภายนอกเช่นพอร์ต universal serial bus (USB) แทนที่จะเชื่อมต่อโดยตรงกับเมนบอร์ดภายในเคสคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีแฟลชหรือธัมบ์ไดรฟ์ซึ่งเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอกขนาดเล็กที่มักจะเชื่อมต่อกับพอร์ต USB อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลดิจิตอลประเภทนี้อาจมีขนาดค่อนข้างเล็กมักติดตั้งในกระเป๋าเสื้อหรือพวงกุญแจและมักใช้ถ่ายโอนไฟล์ระหว่างอุปกรณ์แทนที่จะเก็บไฟล์เป็นระยะเวลานาน

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลดิจิตอลสามารถเป็นฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกแบบพกพาซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นสำหรับการจัดเก็บข้อมูล ไฟล์สามารถถ่ายโอนไปยังอุปกรณ์ประเภทนี้ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีขนาดเล็กกว่าฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกเต็มรูปแบบ แต่มีความจุมากกว่า thumb drive นอกจากนี้ยังมีการ์ดหน่วยความจำที่ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลดิจิตอลประเภทหนึ่ง การ์ดเหล่านี้มักมีขนาดค่อนข้างเล็กและสามารถวางในกล้องดิจิตอลสมาร์ทโฟนช่องเสียบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อเก็บข้อมูลและถ่ายโอนข้อมูลระหว่างฮาร์ดแวร์

Write a Comment