>โปรเซสเซอร์ (Processor) - คอมพิวเตอร์เบื้องต้น 6/2

3.4 ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ - วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

เป็นเอกสารที่ผู้ผลิตแนบมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ที่ซื้อ เช่น คู่มือ เมนบอร์ด และ คู่มือซีพียู โดยก่อนลงมือประกอบเครื่องทุกครั้ง ควรอ่านและทำความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำต่างๆ ในคู่มือให้เข้าใจเสียก่อน ซึ่งภายในคู่มือนอกจากจะอธิบายถึงรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รุ่นนั้น แล้ว ยังระบุถึงวิธีการตั้งค่า การติดตั้งอุปกรณ์อย่างถูกวิธีข้อห้ามและข้อปฏิบัติต่างๆ เนื่องจากการประกอบเครื่องเป็นการดำเนินกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ในระหว่างการดำเนินงานควรเรียนรู้ การป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ในระหว่างการประกอบเครื่องได้แก่

1. ไฟฟ้าสถิต อาจส่งผลการเสียหายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนั้น ในระหว่างการประกอบเครื่อง การได้นำอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ชุดสายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิตหรือถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิตมาใช้ ถือเป็นการป้องกันที่ดี

2. ในการประกอบเครื่องและการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ จะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่มีความแข็ง มีน้ำหนัก และมีความคม ดังนั้น ในระหว่างการติดตั้ง ต้องระมัดระวังในเรื่องการครูด หรือการกระแทกบนอุปกรณ์บนเมนบอร์ดอย่างแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อลายวงจรเมนบอร์ดได้

3. การยึดแผงเมนบอร์ดเข้ากับตัวถังเครื่อง ควรขันสกรูให้พอรู้สึกตึงมือ ไม่ควรขันแน่นจนเกินไป

4. สายสัญญาณ สายไฟ และขั้วต่อปลั๊กไฟต่างๆ ภายในเคส จะต้องถูกรวบและรัดให้เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันการเข้าไปขัดกับใบพัดของพัดลม และบดบังทิศทางการระบายอากาศ

5. ระวังอย่าให้มีเศษวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า หล่นอยู่บนเมนบอร์ดในขณะประกอบเครื่อง

Coding กับการศึกษาในศตวรรษที่ 21

ปัจจุบันเรากำลังจะก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า และรุนแรงกว่าครั้งที่ผ่านๆ มา เทคโนโลยีเกิดใหม่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีการแพทย์ หุ่นยนต์ ควอนต้มคอมพิวติ้ง บิ๊กดาต้า บล็อกเชน เทคโนโลยีเกิดใหม่เหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม (Disrupting Industries) ซึ่งจะทำให้เปลี่ยนรูปแบบการทำงาน และวิถีชีวิตของมนุษย์ในศตวรรษนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากองค์กรภาคธุรกิจต้องแข่งขันกันด้านบริการและผลิตภัณฑ์แล้ว ยังต้องเปลี่ยนรูปแบบของการผลิตให้เป็นระบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น การทำงานในอนาคตจึงต้องการทักษะของแรงงานที่สูงขึ้น โดยต้องมีความสามารถในการทำงานที่ซับซ้อน สามารถเลือกใช้ความรู้จากข้อมูลที่มีอยู่ และประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านวิชาชีพ และการใช้ชีวิต

การมีสมรรถนะทางดิจิทัล (Digital Competence) จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประชาชนไทยมีทักษะ และมีความเข้าใจเพื่อเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้ โดยสมรรถนะทางดิจิทัลนี้จะรวมไปถึงการจัดการข้อมูล การทำงานร่วมกัน การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล การสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ ตลอดจนทักษะด้านโค้ดดิ้ง (Coding Litoracy)ซึ่งเป็นทักษะที่ทำให้เรามีความเข้าใจเรื่องโค้ดและการเขียนโค้ดซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ โค้ดดิ้งยังช่วยให้มนุษย์สื่อสารวิธีการแก้ปัญหาออกมาอย่างมีตรรกะมีโครงสร้างและเป็นระบบ ซึ่งเมื่อหันมามองทางด้านการศึกษาเด็กในทุกวันนี้เติบโตมาในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว จึงเป็นความท้าทายสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะช่วยชี้แนะ หรือมีส่วนร่วมในการวางแผน อนาคตของเด็กให้สามารถปรับตัวได้ในสภาพแวดล้อมที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ก่อนหน้านี้คนอาจมองว่าการเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งเหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบเทคโนโลยี และใช้เวลาอยู่กับคอมพิวเตอร์แต่ในโลกปัจจุบันเมื่อเด็ก Gen Y (ยุคมิลลิเนียม) และ Gen Z (ยุคดิจิทัลเนที่ฟ ได้ใช้เวลาและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ควรต้องได้รับความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับโค้ดดิ้ง เพื่อให้รู้ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร และเขาสามารถพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งได้ เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันของตนเอง การเป็นเพียงผู้ใช้ซอฟต์แวร์อาจไม่เพียงพอสำหรับนักเรียนในยุคนี้ การให้โอกาสนักเรียนได้เรียนรู้ด้านการเขียนโปรแกรมไม่เพียงแต่เพิ่มทางเลือกให้พวกเขาในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต แต่ยังสอนพวกเขาให้รู้จักวิธีคิดเหมือนที่กับที่สตีฟ จ็อบได้กล่าวไว้

ช่วงเวลา 4-5 ปีมานี้ หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสอนโค้ดดิ้ง และกำหนดให้การสอนโค้ดดิ้งเป็นวิชาบังคับในระดับประถมศึกษา โดยประเทศอังกฤษเริ่มในปี พ.ศ. 2557 ส่วนฟันแลนด์และเกาหลีใต้เริ่มในปีเดียวกันกับประเทศไทยคือในปี พ.ศ. 2561 สำหรับประเทศไทยการเรียนโค้ดดิ้งจะอยู่ในวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยประกอบด้วยองค์ความรู้ 3 ด้าน คือวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และทักษะการรู้ดิจิทัล โดยองค์ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมหรือโค้ดดิ้ง และทักษะการคิดเชิงคำนวณ หรือ Computational Thinking ซึ่งเป็นทักษะการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับแนวทางการแก้ปัญหาด้วยการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยทักษะนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ ไม่เฉพาะแต่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เท่านั้น ตัวอย่างเช่น การจับประเด็นหรือสาระสำคัญของปัญหา การแบ่งงานออกเป็นงานย่อย ๆ การเรียงลำดับขั้นตอนการทำงาน เหล่านี้ล้วนเป็นกระบวนการเดียวกับการที่โปรแกรมเมอร์วิเคราะห์ปัญหา แยกส่วนประกอบย่อยของปัญหาและเขียนลำดับของโปรแกรมออกมา

ดังนั้น เพื่อตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และพฤติกรรมการใช้งานของเยาวซนยุคนี้จึงต้องมีการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนให้ทันต่อยุคสมัย สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับประสบการณ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละกลุ่มให้นักเรียนสามารถข้าถึงเนื้อหาหรือบทเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสอนโค้ดดิ้งในโรงเรียนจะเป็นการเปิดโลกใบใหม่ผ่านเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีอยู่ การสอนโค้ดดิ้งนอกจากจะเป็นการจุดประกายให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสาขาอาชีพในอนาคต ยังเป็นการสร้างทักษะในการวางแผน การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ส่งเสริมการใช้ตรรกะในการแก้ปัญหา สร้างคนให้เกิดกระบวนการคิดและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการเตรียมพลเมืองในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังมาถึง

>โปรเซสเซอร์ (Processor) - คอมพิวเตอร์เบื้องต้น 6/2

หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือ CPU (ซีพียู) หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทในโลก เปรียบเสมือนกับเป็นมันสมองให้กับคอมพิวเตอร์นั่นเอง ประกอบไปด้วยวงจรทางไฟฟ้ามากมาย ที่อยู่บนแผ่นซิลิกอนซิป ซึ่งมีขนาดเล็กมาก ๆ

มีแผงวงจรที่เต็มไปด้วยลายวงจร เรียกว่า เมนบอร์ด CPU จะวางอยู่บนเมนบอร์ด ตรงที่มีพัดลมและแผ่นโลหะระบายความร้อน เรียกว่า ฮีตซิงค์ (Heatsink) วางทับอยู่ ส่วนนั้นคือ CPU ภายในจะบรรจุด้วยวงจรทรานซิสเตอร์ ซึ่งมีขนาดเล็กเป็นล้านตัว ภายใต้ตัว CPU จะมีเหล็กแหลม ๆ คล้ายกับเข็มเป็นจำนวนมากส่วนนี้เรียกว่า ขาของ CPU ส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับอุปกรณ์ต่าง ๆ

1. อ่านและแปรคำสั่งที่ถูกเขียนไว้ในโปรแกรม

4. ติดต่อรับส่งข้อมูลกับผู้ใช้ โดยผ่านหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล

ที่ถูกนำเข้ามาภายในตัวซีพียู เมื่อกระทำคำสั่งในขั้นตอนนี้แล้ว จะทำหน้าที่ในการที่ทำให้ซีพียูสามารถติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอก ารทำงานของ cpu หรือโปรเซสเซอร์นั้น เมื่อมีการรับข้อมูลเข้ามาจะนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ ก่อนแล้วอ่านค่าจากหน่วยความจำ จากนั้นcpuก็จะประมวลผลอีกทีว่ามีคำสั่งจะให้ทำอะไร ที่ไหน เช่น ถ้าข้อมูลที่ได้รับมาเป็นการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ก็จะถูกส่งให้ไปที่หน่วย ส่วนด้านข้างที่เหลือก็จัดวางอุปกรณ์ต่าง ๆ

Write a Comment