ติดตั้งฮาร์ดไดรฟ์ / SSD ใหม่ใน Windows 10/8/7 - EaseUS

วิธีการ เปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ (Hard Drive Disk หรือ HDD) ของคอมพิวเตอร์

• ถ้าฮาร์ดไดรฟ์ยังทำงานได้อยู่ ให้สร้างแผ่น recovery หรือไฟล์ image ด้วย backup ข้อมูลหรือโปรแกรม recovery. แต่ถ้าไดรฟ์ล่มไปเรียบร้อยแล้ว หวังว่าคุณจะมีโอกาส backup ไฟล์สำคัญไว้ที่อื่นก่อนหน้านั้น

• หาไดรฟ์ใหม่. ต้องเลือกฮาร์ดไดรฟ์ที่ใช้กับคอมของคุณได้ เพราะถ้า "แทนที่" ไดรฟ์เก่าด้วยไดรฟ์ใหม่ที่เหมือนหรือคล้ายกันที่สุดได้ ขั้นตอนต่างๆ ก็จะง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ถึงไดรฟ์ใหม่จะเก็บข้อมูลได้มากกว่าไดรฟ์เก่าเยอะ ก็ต้องเลือกประเภทสาย data/power และขนาดเมนบอร์ดเท่ากันกับไดรฟ์เดิม แต่ถ้าไม่อยากใช้ฮาร์ดไดรฟ์ประเภทเดิม ก็ต้องศึกษาและวางแผนดีๆ จะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง

• ฮาร์ดไดรฟ์จะมีสาย data/power แบบ SATA (Serial ATA) หรือ IDE. ปกติ SATA จะมี 3 แบบด้วยกัน (SATA, SATA II และ SATA III) ต้องเช็คให้ดีว่าเมนบอร์ดของคุณใช้แบบไหน จะได้เปลี่ยนไดรฟ์ถูก นอกจากนี้ฮาร์ดไดรฟ์ยังมีให้เลือกหลายขนาดด้วยกัน เช่น 2.5 นิ้ว (ประมาณ 6.5 ซม.) หรือ 3.5 นิ้ว (ประมาณ 9 ซม.) ปกติไดรฟ์ขนาด 2.5 นิ้ว (ประมาณ 6.5 ซม.) จะใช้กับแล็ปท็อป ส่วนขนาด 3.5 นิ้ว (ประมาณ 9 ซม.) จะใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แต่เดี๋ยวนี้อุปกรณ์ที่ใช้ SSD (Solid State Drive) ขนาด 2.5 นิ้ว (ประมาณ 6.5 ซม.) กำลังเป็นที่นิยม เลยทำให้คนใช้คอมเริ่มหันมาใช้ฮาร์ดไดรฟ์ขนาดเดียวกันกันมากขึ้น เดี๋ยวนี้ยี่ห้อต่างๆ เลยผลิตเคสคอมรุ่นใหม่ๆ สำหรับใช้กับ cage ฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 2.5 นิ้วเหมือนกัน ถ้าคิดจะเปลี่ยนไดรฟ์แบบ 3.5 นิ้วเป็นแบบ 2.5 นิ้ว ก็ต้องเช็คก่อนว่าเข้าเคสคอมที่มีได้ไหม ไม่งั้นก็ต้องหาซื้อชุด adapter มาใช้

• ระวังให้มากเวลาแตะต้องชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. ถ้าไม่ระวัง ตอนประกอบชิ้นส่วนอาจทำคอมเจ๊งเพราะไฟฟ้าสถิต ป้องกันได้โดย ground หรือต่อสายดินให้ตัวเองทุกครั้งก่อนเริ่มซ่อมคอม หนึ่งในวิธีง่ายๆ คือหาสายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิตมาใช้ โดยจะมีทั้งแบบที่ปลายสายเป็นขั้วไว้เสียบกับปลั๊กที่ต่อสายดินแล้ว หรือแบบที่หนีบไว้หนีบกับอะไรที่เป็นโลหะ ถ้าไม่มีสายรัดนี้ ก็ให้แตะที่เคสคอมส่วนที่เป็นโลหะเอาไว้ ประจุจะได้ถ่ายเทไปยังเคสคอมแทน

• เปิดเคสคอม. แยกผนังเคสทั้ง 2 ด้านออกมา โดยไขน็อตที่ด้านหลังแล้วเลื่อนแผ่นข้างออก เคสคอมบางแบบก็ไม่ได้ใช้น็อต ถ้าเคสคุณเป็นแบบนี้ ก็ต้องหาสลักหรือปุ่มไว้ปลดล็อคประตูหรือกรอบข้างของเคส แล้วถอดออกซะ

• ไขน็อตที่ยึดไดรฟ์ไว้กับเคสคอมหรือ cage. ปกติไดรฟ์จะถูกไขน็อตยึดไว้ทั้ง 2 ด้าน ให้ไขน็อตที่ว่า ถ้าเคสหรือ cage ไม่รองรับไดรฟ์ไว้ต้องใช้มือช่วยจับ พอไขน็อตเสร็จ ก็เลื่อนฮาร์ดไดรฟ์ออกมาจาก cage หรือเคสได้เลย

• ถ้าเป็นฮาร์ดไดรฟ์แบบ IDE ให้ทำแค่ขั้นตอนนี้. ขยับ jumper ของไดรฟ์ใหม่ให้ตรงกับ settings ของไดรฟ์เก่า เช่น Master, Slave หรือ Cable Select ถ้าเป็นไดรฟ์ SATA จะไม่ต้องตั้ง jumper พอถอดฮาร์ดไดรฟ์เดิมแล้ว ให้สังเกตตำแหน่ง jumper ของไดรฟ์ ถ้าไม่เห็น ไดรฟ์ส่วนใหญ่จะมีแผนผังที่ฉลากฮาร์ดไดรฟ์ให้ดูตำแหน่ง jumper ปกติ jumper จะกำหนดไดรฟ์เป็น Master, Slave หรือ Cable Select ให้ปรับ settings ของไดรฟ์ใหม่ให้ตรงกับไดรฟ์เดิม

• ติดตั้งฮาร์ดไดรฟ์ โดยเลื่อนไดรฟ์เข้าไปยังตำแหน่งที่ถูกต้อง. หรือก็คือตำแหน่งเดิมของไดรฟ์เก่า จากนั้นค่อยๆ ไขน็อตยึด แล้วเสียบสาย data และ power ตามเดิม

• ถ้าจะเปลี่ยนฮาร์ดไดรฟ์หลัก ต้องลงระบบปฏิบัติการใหม่ หรือใช้แผ่น recovery. อาจจะต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการ เช่น Windows, Mac OS หรือ Linux ใหม่ ถ้าไม่ได้สร้างแผ่น recovery หรือไฟล์ image ไว้ ถ้าจะเปลี่ยนไดรฟ์รอง อาจจะต้องลงโปรแกรมใหม่ที่เคยติดตั้งไว้ก่อนหน้า หรือ copy ไฟล์ข้อมูลที่ backup ไว้กลับมา

การติตตั้งฮาร์ดดิสก์ [Harddisk] - พื้นฐานการใช้งานคอมพิวเตอร์

หากฮาร์ดดิสก์ของคุณเสีย จำเป็นต้องถอดออก หรือว่าต้องการเปลี่ยน คุณจะต้องทราบวิธีการเปลี่ยนที่ถูกต้องก่อนสำหรับการถอดฮาร์ดดิสก์ออกนั้นทำ ได้โดยก่อนอื่นให้เปิดฝาเคสออก จากนั้นจะเป็นฮาร์ดดิสก์อยู่ภายในตัวเครื่อง ให้ถอดสายเพาเวอร์และสาย IDE ออก ต่อจากนั้นก็ขันน็อตที่ยึดตัวฮาร์ดดิสก์ออก เสร็จแล้วจึงดึงฮาร์ดดิสก์ออกมา เพียงแค่นี้ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนถอดฮาร์ดดิสก์ออกแล้ว

ก่อนที่จะพูดถึงการติดตั้งฮาร์ดดิสก์ จะขออธิบายถึงส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ที่ควรทราบก่อน โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้

1. ช่องเสียบสาย IDE เป็นช่องสำหรับเสียบสายสัญญาณจากตัวฮาร์ดดิสก์ไปหาเมนบอร์ด

2. ช่องสำหรับเซ็ตจัมเปอร์ เป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับกำหนดการทำงานของฮาร์ดดิสก์

3. ช่องเสียบสายเพาเวอร์ เป็นช่องสำหรับเสียบสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายเข้าสู่ตัวฮาร์ดดิสก์

4. ตารางเซ็ตจัมเปอร์ เป็นตารางที่บอกวิธีการเซ็ตจัมเปอร์ เพื่อกำหนดการ

5. ทำงานของฮาร์ดดิสก์ว่าต้องการกำหนดให้ทำงานเป็นแบบ Master หรือSlave โดยปกติแล้วฮาร์ดดิสก์ตัวแรกจะนิยมกำหนดให้เป็น Master

การติดตั้งฮาร์ดดิสก์ใหม่

ก่อน อื่นให้คุณเซ็ตจัมเปอร์ให้อยู่ในตำแหน่งเป็น Master ก่อน โดยวิธีการเซ็ตให้ดูจากตารางเซ็ตจัมเปอร์ จากนั้เนให้สอดฮาร์ดดิสก์เข้าไปในช่องสำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์แล้วขันน็อตให้ครบ ทุกตัวเพื่อลดการเคลื่อนไหวของตัวฮาร์ดดิสก์ขณะทำงาน แล้วให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

1. ต่อสายสัญญาณ IDE ที่ช่องเสียบสาย IDE ที่ตัวฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ โดยให้ด้านที่เป็นแถบสีแดงอยู่ตรงกับขาที่ 1 ให้คุณสังเกตจากตัวไดร์ฟซึ่งจะมีหมายเลขบอกอยู่

2. ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งของสายสัญญาณ IDE ให้นำไปเสียบกับพอร์ต IDE 1เมนบอร์ด โดยให้ด้านที่มีแถบสีแดงอยู่ตรงกับขาที่ 1

3. จากนั้นให้เสียบสายเพาเวอร์ที่ช่องเสียบสายเพาเวอร์ ถ้าหากเสียบไม่ถูกก็จะเสียบไม่ได้ โดยปกติแล้วเส้นแดงของสายเพาเวอร์และของสาย IDE จะหันเข้าหากัน

4. ปิดฝาเคส โดยก่อนที่คุณจะปิดตัวเคสคุณควรทดลองเปิดเครื่องดูก่อนว่าหลังจากที่คุณติด ตั้งฮาร์ดดิสก์เข้าไปแล้วมันสามารถทำงานได้หรือไม่ ถ้าไม่มีอะไรผิดปรกติจึงค่อยปิดตัวเคส แค่นี้ก็เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้งฮาร์ดดิสก์แล้ว

5. สำหรับกรณีที่ฮาร์ดดิสก์ที่คุณติดตั้งเข้าไปเป็นฮาร์ดดิสก์ที่ซื้อมาใหม่ยังไม่ผ่านการใช้งาน คุณจะต้องทำการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์เสียก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้

ติดตั้งฮาร์ดไดรฟ์ / SSD ใหม่ใน Windows 10/8/7 - EaseUS

ต่อจากนี้ คุณจะได้เรียนรู้จากคำแนะนำฉบับสมบูรณ์เกี่ยวกับวิธีการติดตั้ง และตั้งค่าฮาร์ดไดรฟ์ใหม่หรือ SSD บนคอมพิวเตอร์ Windows 10/8/7 หากคุณกำลังมองหาคำแนะนำอย่างละเอียด ให้ทำตามนี้ เพื่อให้ไดรฟ์ใหม่ทำงานบนคอมพิวเตอร์ของคุณได้ในตอนนี้

ส่วนที่ 1. ติดตั้งไดรฟ์ใหม่บนคอมพิวเตอร์

หลังจากได้ฮาร์ดไดรฟ์ใหม่ หรือ SSD ใหม่ ที่คุณต้องติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ คุณสามารถทำตามส่วนนี้เพื่อติดตั้งไดรฟ์ใหม่ ที่นี่เราจะบอกคุณถึงเครื่องมือที่คุณต้องการ และขั้นตอนโดยละเอียดทั้งหมด

นี่คือรายการเตรียมเครื่องมือที่คุณจะต้องใช้ในการติดตั้งดิสก์ใหม่ในคอมพิวเตอร์

ดังที่คุณทราบว่า เนื่องจากเดสก์ท็อปและแล็ปท็อปมีการออกแบบที่แตกต่างกัน วิธีการติดตั้งฮาร์ดไดรฟ์ใหม่จึงแตกต่างกันไปบ้าง ทำตามขั้นตอนโดยละเอียดและติดตั้งดิสก์ใหม่ในคอมพิวเตอร์ของคุณในตอนนี้

และเลื่อนช่องใส่ไดรฟ์เข้าไปถาด ให้รูสกรูทั้งสองด้านของไดรฟ์ใหม่ตรงกันกับรูของถาด

ขั้นตอนที่ 4.เลื่อนไดรฟ์ใหม่ของคุณเข้าไปในเคสคอมพิวเตอร์ ใกล้กับไดรฟ์เก่าของคุณ

ขั้นตอนที่ 5.เชื่อมต่อไดรฟ์ใหม่เข้ากับเมนบอร์ดคอมพิวเตอร์ของคุณด้วยสายเคเบิล SATA และเสียบสายไฟเพื่อเปิดไดรฟ์

หากโน๊ตบุ๊คของคุณมีช่องใส่ฮาร์ดไดรฟ์อื่นคุณสามารถใส่ไดรฟ์ใหม่เข้าไปได้อย่างง่ายดาย และเป็นการดีสำหรับคุณ

แต่หากโน๊ตบุ๊คของคุณมีฮาร์ดไดรฟ์เพียงช่องเดียว คุณอาจมีสองตัวเลือกในการติดตั้งฮาร์ดไดรฟ์ใหม่ หรือไดรฟ์ SSD

เรามีวิดีโอให้คำแนะนำอย่างละเอียด และมีประโยชน์ที่สามารถช่วยคุณเพิ่มฮาร์ดไดรฟ์หรือ SSD ตัวที่สองลงในโน๊ตบุ๊คได้โดยการเปลี่ยนไดรฟ์ DVD/Blu-ray drive.

สำหรับเครื่องมือที่ใช้โคลนระบบที่กล่าวถึง คุณสามารถไปที่ลิงค์นี้เพื่อดาวน์โหลด EaseUS Todo Backup มาช่วยคุณ

หลังจากติดตั้งไดรฟ์ใหม่บนโน๊ตบุ๊คของคุณแล้ว ตอนนี้คุณสามารถข้ามไปยังส่วนถัดไป เพื่อตั้งค่าฮาร์ดไดรฟ์ของคุณ ให้ใช้งานได้ดีสำหรับคุณ

เพื่อประหยัดเวลาและพลังงานของคุณ เราขอแนะนำซอฟต์แวร์ตัวจัดการพาร์ติชันที่เชื่อถือได้ - EaseUS Partition Master เพื่อช่วยให้คุณตั้งค่าเริ่มต้นดิสก์และพาร์ติชันฮาร์ดไดรฟ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและง่ายดาย

ดาวน์โหลด EaseUS Partition Master ในตอนนี้ และทำตามคำแนะนำด้านล่างเพื่อจัดการกับไดรฟ์ใหม่ของคุณ

สมมติว่า ขณะนี้ไดรฟ์ใหม่ที่ติดตั้งไม่ได้ถูกจัดสรรเนื้อที่ ดังนั้น คุณจะต้องจัดการในส่วนนี้ก่อน

• ลากเส้นขอบของ พาร์ติชัน ที่ติดอยู่กับ ไดรฟ์: Cให้ย่อลง ทำให้เกิดพื้นที่ว่างติดกับไดรฟ์: Cจากนั้นคลิก OK

ในการเพิ่มพื้นที่บนไดรฟ์: C ให้ลากเส้นขอบของ พาร์ติชัน เข้าไปในพื้นที่ว่าง

คลิกปุ่ม "Execute Operation"(ดำเนินการ) ซึ่งจะแสดงรายการรอดำเนอนการทั้งหมด แล้วคลิก "Apply"(นำไปใช้) เพื่อขยายขนาดไดรฟ์ C

หากคุณวางแผนที่จะอัพเกรดดิสก์ระบบของคุณเป็นไดรฟ์ใหม่ ด้วยคุณสมบัติในการย้ายระบบปฏิบัติการของ EaseUS Partition Master เป็นตัวเลือกที่ดี วิดีโอนี้บอกวิธีการทำ:

แต่หากคุณวางแผนที่จะสร้างฮาร์ดไดรฟ์ตัวที่สองเป็นดิสก์ข้อมูล คุณสามารถใช้คุณสมบัติการจัดการพาร์ติชันฮาร์ดไดรฟ์ในซอฟต์แวร์นี้ เพื่อสร้างพาร์ติชันใหม่ได้อย่างง่ายดาย:

• ลากเส้นขอบของ พาร์ติชัน ที่ติดอยู่กับ ไดรฟ์: Cให้ย่อลง ทำให้เกิดพื้นที่ว่างติดกับไดรฟ์: Cจากนั้นคลิก OK

ในการเพิ่มพื้นที่บนไดรฟ์: C ให้ลากเส้นขอบของ พาร์ติชัน เข้าไปในพื้นที่ว่าง

คลิกปุ่ม "Execute Operation"(ดำเนินการ) ซึ่งจะแสดงรายการรอดำเนอนการทั้งหมด แล้วคลิก "Apply"(นำไปใช้) เพื่อขยายขนาดไดรฟ์ C

หากคุณซื้อฮาร์ดไดรฟ์ใหม่ คุณสามารถข้ามส่วนนี้ และทำตามคำแนะนำเพื่อติดตั้งฮาร์ดไดรฟ์หรือ SSD ใหม่

หากคุณยังไม่ได้เลือกไดรฟ์ที่เหมาะสม ด้านล่างนี้คือปัจจัยสำคัญบางประการที่อาจช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าคุณต้องการใช้ดิสก์แบบไดรฟ์ใดสำหรับติดตั้งให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ - ฮาร์ดไดรฟ์ทั่วไป หรือดิสก์ SSD

หากคุณไม่ได้วางแผนที่จะใช้เงินมากเกินไปในการซื้อดิสก์ใหม่ ฮาร์ดไดรฟ์ธรรมดาจะเป็นตัวเลือกที่ดีของคุณ เมื่อเทียบกับฮาร์ดไดรฟ์ทั่วไปเราทราบดีว่าแม้ว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ราคาของดิสก์ SSD จะลดลง แต่ SSD ยังคงมีราคาแพงกว่ามาก

ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจของคุณคือ การกำหนดวัตถุประสงค์ของคุณให้ชัดเจน - เพื่อโยกย้ายระบบปฏิบัติการ หรือเพิ่มความจุ

หากประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ลดลง ฮาร์ดไดรฟ์ระบบเริ่มเก่ามากแล้ว คุณควรเลือกในการอัปเกรดดิสก์ระบบ ทางเลือกที่ชาญฉลาดของคุณคือซื้อ SSD ใหม่

แต่หากฮาร์ดไดรฟ์ของคอมพิวเตอร์ไม่มีพื้นที่สำหรับการบันทึกข้อมูล คุณจะต้องเพิ่มฮาร์ดไดรฟ์ตัวที่สองใช้สำหรับไดรฟ์ข้อมูล ในกรณีนี้ สิ่งที่คุณต้องมีคือฮาร์ดไดรฟ์แบบทั่วไปที่มีความจุมากตามความต้องการ

โดยปกติแล้ว จำนวนอินเทอร์เฟซ SATA บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ของคุณจะเป็นตัวกำหนดจำนวนฮาร์ดไดรฟ์ที่คุณสามารถเพิ่มลงในคอมพิวเตอร์ของคุณได้

หากคอมพิวเตอร์ของคุณมีอินเทอร์เฟซ SATA เพียงชุดเดียว เราต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งที่คุณสามารถติดตั้งได้เพียงดิสก์เดียวเท่านั้น หมายความว่าคุณจะต้องซื้อไดรฟ์ใหม่ ที่มีความจุมากกว่าเพื่อติดตั้งให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ

• สำหรับเงินที่จ่ายไม่มากสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ ฮาร์ดไดรฟ์ธรรมดาคือทางเลือกที่ดีที่สุดของคุณ

Write a Comment