วิธีดูสเปคคอม ง่ายๆ ทั้งเบื้องต้น และอย่างละเอียด

วิธี ประกอบคอมพิวเตอร์ แบบเบื้องต้นด้วยตัวเอง

สิ่งๆแรกๆในการ ประกอบคอมพิวเตอร์ให้เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการประกอบเครื่องคอม อาทิ ไขควงสี่แฉก ไขควงปากแบน กล่องสำหรับใส่น็อต คู่มือเมนบอร์ด คีมปากจิ้งจก ตัวคีบสกรู บล็อคหกเหลี่ยมขนาดเล็ก และ หัวมะเฟือง เป็นต้น

ในการประกอบคอมพิวเตอร์ ให้เริ่มจากการติดตั้งซีพียูก่อน โดยการง้างขาล็อคของซ็อกเก็ตขึ้นมาจากนั้น นำซีพียูมาใส่ลงไปในซ็อกเก็ตโดยให้วางตำแหน่งขาที่ 1 ของซีพียูและซ็อกเก็ตให้ตรง กัน ซึ่งสังเกตว่าที่ขาที่ 1 ของซีพียูจะทำเครื่องหมายเป็นจุดเล็กไว้ที่มุมด้านบนของ เมื่อวางซีพียูตรงล็อคกับซ็อกเก็ตแล้ว จากนั้นให้กดขาล็อกลงไปเหมือนเดิม แล้วนำซิลิโคนมาทาตรงบริเวณคอร์ ของซีพียู และไม่ควรทาซิลิโคนให้ หนา หากเห็นว่าหนาเกินไปให้ใช้กระดาษหรือแผ่นพลาสติกมาปาดออกเสียบ้าง

นำแรมมาเสียบเข้ากับซ็อกเก็ตแรมโดยให้ตรงกับร่องของซ็อกเก็ต จากนั้น จึงกดลงไปจนด้านล็อกทั้ง 2 ด้านดีดขึ้น

เอาเมนบอร์ดที่ได้ติดตั้งซีพียูและแรมวางลงไปบนเคส จากนั้นขันน็อตยึดเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคสให้ครบทุกตัว

ขั้นตอนต่อมาให้เชื่อมต่อสายสัญญาณต่างๆ ภายในเครื่อง เสียบสายเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับขั้วต่อบนเมนบอร์ด โดยควรเสียบให้ปลั๊กของสายเพาเวอร์ซัพพลายตรงล็อกกับขั้วต่อบนเมนบอร์ด เสียบสายสัญญาณต่างๆ จากเคส เช่น สวิตช์เปิดปิดเครื่อง ไฟบอก สถานะเปิดเครื่อง ไฟบอกสถานะฮาร์ดดิสก ปุ่ม Reset ลำโพง ลงบนเมนบอร์ด ควรดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้วย โดยต้องเสียบขั้วให้ถูกหากผิดขั้ว คอมพิวเตอร์ จะไม่ติดหรือมีไฟค้างตลอดเวลา วิธีแก้ไขคือให้เราลองสลับขั้วและเปิดเครื่องขึ้น มาใหม่

จากนั้นให้ติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟ ซีดีรอม และการ์ดต่าง ๆ เสียบการ์ดแสดงผลลงไปในสล็อต AGP เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส และเสียบการ์ดเสียงลงไปในสล็อต PCI เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส

เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ตรวจสอบดูว่ามีน็อตหรืออุปกรณ์อื่นๆ ตกค้างอยู่บนเมนบอร์ดหรือไม่ เนื่องจากอาจทำให้เกิดกระแสไฟลัดวงจรจนเกิดความ เสียหายต่อเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ นอกจากนี้ควรตรวจสอบ การติดตั้งทั้งหมดว่าเรียบร้อยดีแล้ว เช่น การ์ดต่างๆ หรือสายสัญญาณเสียบ แน่นหนาดีหรือยัง โดยเฉพาะฮีทซิงค์และพัดลมต้องแนบสนิทกับซีพียู พร้อมทั้งล็อก ติดกันอย่างแน่นหนา

เมื่อเรียบร้อยดีแล้วปิดฝาเคส ขันน็อต และต่ออุปกรณ์ภายนอกให้เรียบร้อย เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ฉบับเบื้องต้น โดยหากต้องการ ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ก็ให้ย้อนกลับไปทำวิธีข้างต้นใหม่

และใครที่อยากซื้อ ประกอบคอม ihavecpu ร้านรับจัดสเปคคอมชื่อดัง มีทีมงานพร้อมให้บริการลูกค้าทุกท่าน ประกอบเร็ว มีประกัน ส่งถึงหน้าบ้าน สนใจติดต่อเรามาได้เลย ทั้งสาขา รามอินทรา และ สาขานครนายก

1. ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

1. ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดจากการประกอบกันของอุปกรณ์ต่างๆมากมาย ทั้งในส่วนภายในเครื่อง และในส่วนที่อยู่ภายนอกเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู, แรม, การ์ดแสดงผล(การ์ดจอ), ฮาร์ดดิสก์, เมาส์, จอภาพ, คีย์บอร์ด ฯลฯ ซึ่งในแต่ละส่วนก็จะมีหน้าที่และความสำคัญแตกต่างกันไป ส่วนประกอบภายในเครื่อง ส่วนประกอบภายนอกเครื่อง ซีพียู (CPU) จอภาพ (Monitor) เมนบอร์ด (Mainboard) คีย์บอร์ด (Keyboard) หน่วยความจำ (Memory) เมาส์ (Mouse) การ์ดแสดงผล (Monitor Card) โมเด็ม (Modem) การ์ดเสียง (Sound Card) ลำโพง (Speaker) ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ (Floppy Disk Drive) เครื่องพิมพ์ (Printer) ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ซีดีรอม (CD-ROM Drive) เคสและเพาเวอร์ซัพพลาย จอภาพ (Monitor) (Case and Power Supply)

ซีพียู ( CPU : Central Processing Unit ) ซีพียู คือ ส่วนประกอบที่มีความสำคัญที่สุด เปรียบเสมือนมันสมองของคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในประมวลผลข้อมูลและควบคุมการทำงานของระบบ ความเร็วในการทำงานของซีพียูจะมีหน่วยเป็นเมกะเฮิรตซ์ (MHz) เช่น 133 MHz , 166 MHz , 500 MHz , 600 MHz เป็นต้น ความเร็วในที่นี้ก็คือ ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาที่มีแหล่งกำเนิดมาจากส่วนที่เรียกว่า คล็อก (Clock) สัญญาณนาฬิกานี้จะทำให้ตัวซีพียูและระบบทั้งหมดสามารถทำงานได้ สรุปได้ว่าความถี่ของสัญญาณนาฬิกานี้เป็นตัวบอกถึงความเร็วในการทำงานของระบบ ถ้าความเร็วของสัญญาณนาฬิกาสูงซีพียูก็จะทำงานได้เร็ว เปรียบได้กับรถที่มีแรงม้ามากกว่าย่อมวิ่งได้เร็วกว่ารถที่มีแรงม้าน้อยๆ บริษัทที่ผลิตซีพียูที่ใช้อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่หลายบริษัท แต่ที่มีขายอยู่ในตลาดบ้านเรามักจะมาจาก 3 ค่ายหลัก ได้แก่ อินเทล เอเอ็มดี และไซริกซ์ อินเทล (Intel) คือ บริษัทเก่าแก่ที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการผลิตซีพียู ซึ่งมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและยาวนานที่สุด เริ่มตั้งแต่รุ่น 8088, 80286, 80386, 80486, เพนเทียม (pentium), เพนเทียม เอ็มเอ็มเอ็กซ์ (pentium mmx), เพนเทียมโปร (pentium pro) จนกระทั่งล่าสุด คือ เพนเทียม ทรี (pentium 3) เอเอ็มดี (AMD) เป็นบริษัทคู่แข่งที่สำคัญของอินเทล ปัจจุบันซีพียูจากค่ายเอเอ็มดีมีประสิทธิภาพสูงมากจนเป็นที่ยอมรับของตลาดบ้านเราแล้ว และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซีพียูจากเอเอ็มดี เช่น K5, K6,และวีพียูรุ่นล่าสุด คือ K7 ไซริกซ์ (Cyrix) ปัจจุบันยังได้รับความนิยมน้อยอยู่เมื่อเทียบกับซีพียูจากเพนเทียมและ เอเอ็มดี แต่ก็เป็นซีพียูที่มีราคาถูกและมีคุณภาพใช้ได้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ต้องการซีพียูราคาถูก ซีพียูจากไซริกซ์ เช่น 6X86, 6X86L,6X86ML อินเตอร์เฟส (Interface) ของซีพียู อินเตอร์เฟสของซีพียู หมายถึง สล็อต (Slot) ที่ใช้ในการติดตั้งหรือถอดซีพียูออกจากเมนบอร์ด มันเป็นอุปกรณ์ที่ติดมากับตัวเมนบอร์ด ทั้งสล็อตมีอยู่หลายแบบ แต่ละแบบก็จะมีไว้สำหรับซีพียูที่มีอินเตอร์เฟสตรงกับมันเท้านั้น เราสามารถแบ่งซีพียูได้ออกเป็น 2 ชนิด คือ ซีพียูที่มีลักษณะเป็นซิปกับซีพียูที่มีลักษณะเป็นการ์ดซ๊พียูแบบซิปก็จะติดตั้งบนล็อกเก็ต ส่วนซีพียูแบบการ์ดก็จะติดบนสล็อต นอกจากนี้ทั้งสล็อตและซ็อคเก็ตมีหลายชนิด เนื่องจากมีการสร้างซีพียูที่แตกต่างกันออกไป เช่น · ซิปซีพียู AMD K6 มี 321 ขา ก็จะใช้กับ Socket 7 · ซิปซีพียู Pentium Pro มีขา 387 ขา ก็จะใช้กับ Socket 8 · ซิปซีพียู Cyrix M II มีขา 370 ขา ก็จะใช้กับ Socket 370 · การ์ดซีพียู Pentium II ก็ต้องเลือกเมนบอร์ดแบบ Slot I · การ์ดซีพียู AMD K7 ก็ต้องเลือกเมนบอร์ดแบบ Slot A ดังนั้นการเลือกซื้อเมนบอร์ด เราต้องเลือกเมนบอร์ดที่มีสล็อตหรือซ็อคเกตชนิดเดียวกับ ซีพียูที่จะใช้ ถ้าหากเราซื้อเมนบอร์ดที่มีสล็อตหรือซ็อคเกตที่ไม่รองรับกับซีพียู เราก็จะไม่สามารถติดตั้งซีพียูลงบนเมนบอร์ดได้เลย เช่น ถ้าเราซื้อซีพียู AMD K7 กับเมนบอร์ดแบบ Slot I เราจะติดตั้ง K7 ลงบนเมนบอร์ดนี้ไม่ได้เลย ดังนั้นเราเราจะต้องเลือกซื้อเมนบอร์ดที่มี Slot A สำหรับติดตั้ง K7 เท่านั้น ปัจจัยในการเลือกซื้อซีพียู 1. เราจะต้องรู้ว่าจะนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ทำงานอะไร แล้วถึงจะมากำหนดว่าจะใช้ซีพียูชนิดใดความเร็วเท่าไหร่ จึงจะเหมาะสมกับการประมวลผลของเรามากที่สุด ถ้าเราซื้อซีพียูประสิทธิภาพสูงมาใช้ แต่กลับนำมาใช้งานพื้นฐานธรรมดาที่ไม่ได้มีความสามารถที่ซีพียูเหล่านั้นทำได้ ก็จะเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ 2. ราคาต่อประสิทธิภาพก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะซีพียูยี่ห้อต่างกัน ความเร็วในหน่วยเมกกะเฮิรตซ์ไม่เท่ากัน แต่อาจจะมีประสิทธิภาพเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน เนื่องจากซีพียูแต่ละยี่ห้อจะมีโครงสร้างการทำงานภายในซีพียูแตกต่างกัน ทำให้ความเร็วในการทำงานแตกต่างกัน 3. ควรเลือกซีพียูที่มีหน่วยความจะแคชมากๆ เพราะสามารถลดปัญหาคอขวดอันเกิดจากความเร็วของหน่วยความจำหลักต่ำกว่าความเร็วของแคชมากๆ เมนบอร์ด (Mainboard) คุณสมบัติที่สำคัญของเมนบอร์ด สิ่งที่สำคัญที่สุดของเมนบอร์ด คือ เรื่องของเสถียรภาพในการทำงาน ถ้าเมนบอร์ดใดมีเสถียรภาพไม่ดีก็จะทำให้เครื่องแฮงค์บ่อย โดยเฉพาะเมื่อใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ แต่เมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ จะไม่ค่อยพบกับปัญหาเรื่องเสถียรภาพนี้ เพราะได้พัฒนามาอยู่ในระดับมาตรฐานใกล้เคียงกัน ชิปเซ็ต ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานของเมนบอร์ด ชิปเซ็ตเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของเมนบอร์ดแต่ละตัว การจัดวางตำแหน่งของอุปกรณ์ เมนบอรดที่ดีต้องทีการจัดวางอุปกรณ์แต่ละตัวให้สอดคล้องกับการทำงานให้มากที่สุด เช่น การวางแรมใกล้กับซีพียู เพื่อลดระยะทางในการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับแรม การวาง Slot ต่างๆให้สามารถใส่การ์ดได้สะดวก เป็นต้น ชนิดของเมนบอร์ด เมนบอร์ดมี 2 แบบ คือ แบบ AT และแบบ ATX เมนบอร์ดแบบ ATX ได้พัฒนาในเรื่องการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆบนเมนบอร์ดให้มีความเหมาะสมกับการทำงาน และการวางซีพียูใกล้กับเพาเวอร์ซัพพลาย เพื่อช่วยระบายความร้อนให้กับซีพียู และยังนำพอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนานมาไว้บนเมนบอร์ดอีกด้วย ทำให้เมนบอร์ดรุ่นนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และทำให้เมนบอร์ดแบบ AT เกือบหมดไปจากตลาด ข้อดีของเมนบอร์ดแบบ ATX 1. ตำแหน่งของแรมอยู่ใกล้กับตำแหน่งของซีพียูมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 2. พอร์ตต่างๆไม่ว่าจะเป็นพอร์ตอนุกรม, พอร์ตขนาน, พอร์ต PS/2 สำหรับคีบอร์ดและเมาส์ พอร์ต USB จะถูกติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดเลย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะไม่ต้องใช้สายสัญญาณต่อ 3. การติดตั้งการ์ดและแรมก็ทำได้ง่ายขึ้น เพราะมีการวาง Slot สำหรับการ์ดในตำแหน่งที่ไกลจากตำแหน่งของ Socket ของแรมมาก 4. สามารถใส่การ์ดที่มีขนาดยาวได้ เพราะไม่มีอุปกรณ์ใดๆ กีดขวาง 5. พอร์ตควบคุมฟล็อปปี้ดิสก์และฮาร์ดดิสก์อยู่ใกล้กับตำแหน่งของไดรว์ทำให้ติดตั้งได้ง่ายไม่ต้องลากสายสัญญาณไปไกล 6. การะบายความร้อนดี เพราะตำแหน่งที่ติดตั้งซีพียูจะอยู่ใกล้กับพัดลมของเพาเวอร์ซัพพลาย ปัจจัยในการเลือกซื้อเมนบอร์ด 1. ต้องซื้อเมนบอร์ดที่มีซ็อคเก็ตตรงกับชนิดของซีพียู เช่น ถ้าใช้ซีพียู K7 ก็ต้องซื้อเมนบอร์ดที่มีซ็อคเก็ตแบบSlot A หรือถ้าซื้อซีพียู Pentium II ก็ต้องซื้อเมนบอร์ดที่มีซ็อคเก็ตแบบ Slot I 2. ชิปเซ็ตที่อยู่บนเมนบอร์ดสนับสนุนการทำงานในเรื่องใดบ้าง เพราะชิปเซ็ตจะเป็นตัววัดถึงประสิทธิภาพของเมนบอร์ด 3. เมนบอร์ดสามารถรองรับแรมสูงสุดได้เท่าไหร่ 4. ในปัจจุบันการ์ดต่างๆมักทำงานกับสล็อต PCI ดังนั้นควรเลือกเมนบอร์ดที่มีสล็อต ISA น้อยๆ 5. ควรเลือกเมนบอร์ดที่มีความเร็วบัสและตัวคูณหลายๆค่า เพื่อสะดวกในการอัพเกรด หรืออาจเลือกเมนบอร์ดที่ใช้ Soft Menu ซึ่งสามารถเปลี่ยนความเร็วผ่านทางซอฟต์แวร์ แทนการปรับเปลี่ยนจัมเปอร์หรือดิพสวิตซ์ ทำให้สะดวกในการอัพเกรด 6. ยี่ห้อของเมนบอร์ดที่น่าสนใจได้แก่ Asus, Aopen, ABIT, Gigabyte, Intel, Tyan, Matsonic เป็นต้น หน่วยความจำแรม (RAM : Random Access Memory) แรม คือส่วนประกอบที่สำคัญที่จะขาดไม่ได้ในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ แรมทำหน้าที่เก็บข้อมูลชั่วคราวเพื่อรอส่งให้กับซีพียูทำการประมวลผลต่อไป แรมจะเก็บข้อมูลเหมือนกับฮาร์ดดิส แต่การทำงานของแรมจะเร็วกว่าและไม่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวร แรมจะเก็บข้อมูลได้ในขณะเปิดเครื่องเท่านั้น เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะหายไป ปัจจัยในการเลือกซื้อแรม 1. ควรเลือกแรมที่มีระยะเวลาในการเข้าถึงหน่วยความจำน้อย 2. ความเร็วในการทำงานของแรม ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ (Floppy Disk Drive) ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลลงแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์หรือดิสก์เก็ต แผ่นดิสก์มีขนาดเล็กเพียง 3.5 นิ้ว บรรจุข้อมูลได้ 1.44 เมกะไบต์ มีราคาถูก สะดวกในการเก็บข้อมูลหรือเคลื่อนย้ายไฟล์ขนาดเล็กจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง อีกทั้งยังใช้ทำแผ่นบูต(Boot)เครื่องได้ ทำให้ฟล็อปปี้ดิสก์ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ สำหรับเก็บข้อมูลแบบถาวร เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็ยังคงอยู่ไม่สูญหายไป ฮาร์ดดิสก์มีรูปแบบเป็นการเชื่อมต่อหรือเรียกว่า การอินเตอร์เฟสมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ E-IDE และ SCSI โดยการอินเตอร์เฟสแบบ E-IDE ได้รับการพัฒนาต่อจากฮาร์ดดิสก์แบบ IDE เนื่องจากฮาร์ดดิสก์แบบเดิมนั้นมีข้อจำกัดในเรื่องของความจุคือ มีความจุเพียง 528 MB แต่ฮาร์ดดิสก์แบบ E-IDE สามรถจุข้อมูลได้มากถึงระดับกิกะไบต์ขึ้นไป ส่วนฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI จะมีราคาแพงและมีการติดตั้งที่ยุ่งยากมาก แต่ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลแบบ IDE ซึ่งจะเหมาะกับเครื่องในระดับเซิร์ฟเวอร์มากกว่า ปัจจัยในการเลือกฮาร์ดดิสก์ 1. ขนาดความจุจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการใช้งาน แต่ที่เป็นมาตรฐานอยู่ในขณะนี้คือ 4.3 กิกะไบต์ 2. ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE ควรเลือกมาตรฐานการส่งผ่านข้อมูลชนิด Ultra DMA/66 3. ความเร็วในการหมุนแผ่นจานแม่เหล็กหรือความเร็วรอบ (RPM) มี 2 ระดับให้เลือกคือ 5400, 7200 RMP 4. หน่วยความจำบัฟเฟอร์ (Buffer) มี 2 แบบ คือ 512K, 2MB 5. การรับประกัน (Warranty) ควรเลืกแบบที่มีการรับประกัน 3 ปี 6. ยี่ห้อของฮาร์ดดิสก์ ได้แก่ IBM, Maxtor, Quantum, Seagate, Westerm ซีดีรอมไดรว์ ( CD-ROM Drive ) ซีดีรอมไดรว์ ได้กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันไปแล้ว เนื่องจากแผ่นซีดีรอมนั้นสามารถบันทึกข้อมูลได้ในปริมาณมากและมีราคาถูก ซีดีรอมไดรว์มีให้เลือกติดตั้งทั้งภายในและภายนอก สำหรับรูปแบบการเชื่อมต่อก็จะมีทั้งแบบ IDE และแบบ SCSI เช่นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ เครื่องซีดีรอมแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดอ่านอย่างเดียว คือ ซีดีรอม-ไดรว์ ทั่วไปกับซีดีรอมไดรว์ ประเภทที่ทำได้ทั้งอ่านและเขียนแผ่นซีดี ที่เรียกว่า ซีดีอาร์ดับบลิว-ไดรว์ (CD-RW Drive) ปัจจัยในการเลือกซื้อซีดีรอม 1. ความเร็ว สำหรับมาตรฐานในปัจจุบันความเร็วจะอยู่ที่ 48-50X มีหน่วยความจำ 128-256 KB 2. ถ้าเลือกไดรว์ชนิดดีวีดีรอม (DVD-ROM) ให้เลือกแบบที่สามารถอ่านแผ่นซีดีอาร์ได้ด้วย 3. ซีดีรอม ที่นิยมใช้ ได้แก่ Aopen, Asus, CTX, LG, Philips, Pioneer, Sony เป็นต้น เคสและเพาเวอร์ซัพพลาย (Case and Power Supply) เคส ก็คือส่วนของตัวถังที่ใช้ห่อหุ้มอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ เคสแบ่งออกเป็นเคสแบบแนวนอน (Desktop) และแบบแนวตั้ง (Tower) เคสที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน คือเคสแบบ Tower เคสแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เคสแบบ AT และแบบ ATX โดยเคสแบบ AT จะใช้กับเมนบอร์ดแบบ AT ส่วนเคสแบบ ATX จะใช้กับเมนบอร์ดแบบ ATX เท่านั้น ลักษณะของเคสที่ดี 1. สามารถระบายความร้อนได้ดี 2. มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่บางเกินไป 3. ขอบของเคสไม่ต้องคม เพราะจะบาดมือเวลาถอดหรือประกอบ 4. สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกได้ 5. มีพื้นที่ขนาดใหญ่พอที่จะจัดการกับการ์ดบนเมนบอร์ดได้ง่าย 6. ทำจากวัสดุที่ไม่สื่อนำไฟฟ้า 7. สามารถเปิดด้านข้างได้ เพื่อความสะดวกในการเพื่ออุปกรณ์ เพาเวอร์ซัพพลาย คือ แหล่งจ่ายไฟสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีขนาดกำลังไฟอยู่ระหว่าง 200-250 วัตต์ แต่สำหรับการใช้งานในปัจจุบันควรเลือกเพาเวอร์ที่มีกำลังไฟอย่างน้อย 230 วัตต์ขึ้นไป การเลือกซื้อเคสและเพาเวอร์ซัพพลาย ส่วนมากในการซื้อเคสก็จะมีเพาเวอร์ซัพพลายติดมากับเคสด้วย โดยปกติเพาเวอร์ซัพพลายจะมีขนาดอยู่ระหว่าง 200-250 วัตต์ แต่สำหรับการใช้งานในปัจจุบันควรเลือกเพาเวอร์ที่มีกำลังไฟอย่างน้อย 230 วัตต์ขึ้นไป แต่เพาเวอร์ซัพพลายที่ติดมากับเคสแบบต่างๆที่จำหน่ายในราคาถูก อาจจะไม่จ่ายไฟฟ้าได้ตามที่ระบุไว้บนตัวเพาเวอร์ซัพพลาย ทำให้ไม่สามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์ต่างๆได้ตามที่กำลังไฟแจ้งไว้ จอภาพ (MONITER) จอภาพ คือ ส่วนที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของซีพีขู ผ่านทางการ์ดแสดงผล คุณภาพของภาพที่ได้จะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการ์ดแสดงผลและจอภาพประกอบกัน ในการเลือกจอภาพควรเลือกจอที่มีคุณภาพ เพราะมันคือสิ่งที่เราต้องทำงานกับมันโดยตรง ถ้าเราเลือกจอที่มีคุณภาพดีมีขนาดใหญ่พอ เป็นจอที่มีระบบป้องกันรังสีและมีการสะท้อนของแสงน้อย เราก็สามารถทำงานได้นานโดยไม่เมื่อยล้า หลักการทำงานของจอภาพ ภาพที่ปรากฏบนจอภาพนั้นเกิดจากการยิงลำแสงอิเล็กตรอนของหลอดภาพไปยังผิวด้านในของจอภาพ ซึ่งจะมีสารฟอสเฟตฉาบเอาไว้ และเมื่อสารนี้โดนแสงก็จะถูกกระตุ้นให้เปล่งแสงออกมา จุดดังกล่าวนี้เราเรียกว่า พิกเซล (Pixel) สำหรับการแสดงผลได้เป็นภาพออกมาได้นั้น เกิดจากการวาดภาพบนจอภาพซ้ำหลายๆภาพใน 1 วินาที เพื่อให้ได้ภาพที่เราเห็นในจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งการวาดภาพบนจอภาพซ้ำหลายๆภาพใน 1 วินาที นี้เราเรียกว่า การรีเฟรช (Refresh) คุณสมบัติที่สำคัญของจอภาพ 1. ระยะด็อตพิชต์ (Dot Pitch) คือ ระยะห่างระหว่างจุดบนจอภาพ โดยระยะห่างยิ่งน้อยภาพก็ยิ่งคมชัด ค่าของระยะด็อตพิชต์ จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.24-0.28 มิลลิเมตร 2. ความละเอียด (Resolution) คือ จำนวนของจุดหรือพิกเซลที่จอภาพสามารถนำมาแสดงผลบนจอภาพได้ จำนวนจุดยิ่งมากก็จะทำให้จอภาพที่ได้มีความคมชัดขึ้น จอภาพส่วนใหญ่สามารถที่จะแสดงผลในความละเอียดได้ในหลายๆโหมด 3. ขนาดของจอภาพ(Monitor Side) มีตั้งแต่ 14-21 นิ้วแต่ที่ใช้งานกันจะเป็นจอขนาด 14 15 และ 17 นิ้ว ซึ่งขนาดดังกล่าวเป็นขนาดที่วัดในแนวทะแยง 4. อัตราการรีเฟรช (Refresh Rate) คือ จำนวนครั้งในการวาดหน้าจอใหม่ใน 1 วินาที อัตราการ รีเฟรชต่ำสุด คือ 72 ครั้ง ใน 1 วินาที ถ้าช้ากว่านี้ภาพจะกระพริบทำให้ผู้ใช้เกิดอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อตาเมื่อทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ปัจจัยในการเลือกจอภาพ 1. ควรเลือกจอภาพขนาด 15 นิ้วขึ้นไปเป็นอย่างน้อย เพราะปัจจุบันจอภาพ 15 นิ้ว มีราคาสูงกว่าจอภาพขนาด 14 นิ้วเล็กน้อยเท่านั้น 2. ควรเลือกจอภาพที่มีค่าระยะด็อตพิชต์ต่ำๆ เพราะจะทำให้ภาพออกมาคมชัด 3. เลือกจอภาพที่สามารถเลือกความละเอียดได้หลายโหมด 4. ควรเลือกแบบจอแบน เพราะภาพที่ได้จะมีสัดส่วนที่ถูกต้องเป็นธรรมชาติมากกว่าจอแบบปกติ เนื่องจากบริเวณขอบทั้ง 4 ด้านจะเป็นเส้นตรง ซึ่งทำให้เส้นขอบยังคงตรงเป็นแนวที่ถูกต้อง ไม่นูนหรือโป่งออกเหมือนจอภาพแบบปกติ และจอแบนจะมีแสงสะท้อนน้อย เพราะจอแบนจะมีคุณสมบัติในการหักเหของแสงสะท้อนที่ตกกระทบบนจอภาพออกไปในทิศทางที่หลบออกจากสายตาผู้ใช้ 5. ตรวจดูปุ่มรับการควบคุมจอภาพต่างๆ ว่าสามารถปรับอะไรได้บ้าง ใช้งานง่ายและสะดวกหรือไม่ 6. จอภาพที่นิยมใช้ ได้แก่ ADI, CTX, LG, MAG, Panasonic, Philips, SONY, Sumsung, Viewsonic เป็นต้น คีย์บอร์ด (Keyboard) คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์ที่เราใช้ในการป้อนข้อมูลต่างๆ เข้าไป มันเป็นอุปกรณ์ราคาถูก มีตั้งแต่ราคา 200 บาท ขึ้นไป คีย์บอร์ดที่มีราคาสูงก็จะมีปุ่มฟังก์ชันการทำงานต่างๆเพิ่มเข้ามาให้มากมาย เช่น ปุ่ม Sleep ปุ่ม Windows เป็นต้น หรืออาจจะมีการออกแบบให้มีที่วางมือ เพื่อความสะดวกในการพิมพ์งาน เมาส์ (Mouse) เมาส์ เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาถูกคือ มีตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป เมาส์ที่มีราคาสูงก็จะมีคุณภาพและใช้ได้นาน โดยปกติเมาส์จะมีปุ่มใช้งาน 2 ปุ่ม เมาส์บางรุ่นอาจจะมี 4-5 ปุ่ม ปุ่มที่เพิ่มเข้ามานี้ก็จะเป็นปุ่มที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ หรือในบางรุ่นอาจจะมีล้อกลมๆคล้ากับล้อรถเพิ่มเข้ามาอยู่ระหว่างปุ่มทั้งสอง เราเรียกว่า Scroll Wheel โดยล้อดังกล่าวก็จะเอาไว้ใช้เลื่อนหน้าจอทำให้การทำงานสะดวกขึ้น แทนที่จะเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่สกอร์ลบาร์ (scroll Bar)เพื่อเลื่อนหน้าจอ โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ปัจจุบันโมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออินเตอร์เน็ตมีการขยายตัวมากขึ้นทำให้มีการสื่อสารผ่านโมเด็มมากขึ้น หน้าที่หลักของโมเด็ม หน้าที่หลักของโมเด็ม คือ เป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นสัญญาณแบบดิจิตอล (Digital Signal) ไปเป็นสัญญาณอะนาล็อก (Analog Signal) และทำการส่งสัญญาณที่ได้ไปตามสายโทรศัพท์ ส่วนโมเด็มที่ต่ออยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะรับข้อมูลก็จะทำการแปลงสัญญาณแบบอะนาล็อกให้เป็นสัญญาณแบบดิจิตอลและส่งต่อให้กับคอมพิวเตอร์ต่อไป โมเด็มที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ชนิดคือ โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal Modem) และโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External Modem) ข้อดีของโมเด็มแบบติดตั้งภายใน 1. มีราคาถูก 2. ไม่เปลืองเนื้อที่เนื่องจากติดตั้งอยู่ในเคส 3. ไม่ต้องใช้พอร์ตอนุกรม 4. มีชิป UART ที่ทำหน้าที่ควบคุมการรับข้อมูลระหว่างโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีความผิดพลาดน้อย ข้อเสียของโมเด็มแบบติดตั้งภายใน 1. ไม่มีสัญญาณไฟบอกสถานะการทำงาน เช่น สัญญาณแสดงการรับหรือส่งข้อมูล 2. ติดตั้งยากเพราะต้องเปิดฝาเครื่องออกก่อน 3. เคลื่อนย้ายไม่สะดวก เช่น ในกรณีที่ต้องการนำโมเด็มไปใช้งานที่เครื่องอื่นก็ต้องเปิดฝาเครื่องออกก่อน 4. ต้องการไดรเวอร์พิเศษของโมเด็มเพื่อที่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ข้อดีของโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก 1. มีสัญญาณไฟบอกสถานะการทำงาน 2. ติดตั้งได้ง่าย 3. เคลื่อนย้ายสะดวก ข้อเสียของโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก 1. เปลื่องเนื้อที่ในการจัดวางโมเด็ม 2. ต้องใช้พอร์ตอนุกรม 3. มีราคาแพง ปัจจัยในการเลือกซื้อโมเด็ม ควรเลือดซื้อโมเด็มที่มีความเร็ว 56 Kbps และรับรองมาตรฐาน V.90 ถ้ามีงบประมาณน้อยก็สามารถเลือกโมเด็มแบบ Internal ซึ่งจะมีราคาถูกมากแต่จะยุ่งยากในการติดตั้ง ลำโพง (Speaker) ลำโพง เป็นอุปกรณ์สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง เนื่องจากในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกใช้งานเพื่อความบันเทิงและการศึกษามากขึ้น เช่น ใช้เป็นเครื่องเล่น VDO CD, ใช้ฟังเพลง, ใช้ในงานซอฟต์แวร์มัลติมีเดียหรือโปรอกรมสื่อการสอน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยลำโพงทั้งสิ้น หลักการทำงานของการ์ดเสียงและลำโพง ทั้งการ์ดเสียงและลำโพงจะต้องทำงานร่วมกันในการผลิตเสียงออกมาให้ได้ยิน โดยมีซีพียูควบคุมการทำงาน เริ่มจากซีพียูทำการประมวลผลข้อมูลเสียงชนิดต่างๆ ที่ได้จากซอฟต์แวร์ เช่น จากเกมส์ หนัง และส่งต่อไปให้กับการ์ดเสียงเพื่อทำการถอดรหัสข้อมูลของสัญญาณจากเสียงที่ได้จากการประมวลผล แล้วแปลงให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าแบบอะนาล็อกเพื่อส่งไปยังลำโพง ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าแบบอะนาล็อกให้กลายเป็นสัญญาณเสียงต่อไป ปัจจัยในการเลือกซื้อลำโพง การตอบสนองความถี่ของลำโพงที่ดีนั้น ควรจะครอบคลุมช่วงความถี่เสียงที่มนุษย์สามารถได้ยินได้ทั้งหมดคือ ช่วงความถี่ 20Hz – 20000Hz และจะต้องให้เสียงที่นุ่มนวล เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่มีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลต่างๆ เครื่องพิมพ์ในปัจจุบันมีราคาถูกและก็มีคุณภาพสามารถพิมพ์ได้ทั้งขาวดำและสี และพิมพ์ออกมาเป็นตัวอักษรหรือรูปภาพก็ได้ เครื่องพิมพ์แบ่งออก เป็น 3 ชนิดคือ 1. Dot Matrix เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้หัวเข็มทั้งชนิด 9 เข็มกับ 24 เข็ม แบ่งออกเป็นเส้นแคร่สั้นกับแคร่ยาว เครื่องพิมพ์ชนิดนี้มีต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นต่ำ และคุณภาพต่ำด้วย 2. Ink Jet เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดใช้น้ำหมึกในการพิมพ์ มีความคมใกล้เคียงกับเครื่อง Laser แต่มีราคาถูก พิมพ์ได้ทั้งขาวดำและสี 3. Laser เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีความคมชัดและความเร็วในการพิมพ์ที่สูงที่สุด มีเครื่องพิมพ์แบบขาวดำและแบบสี แต่เครื่องแบบ Laser สีจะมีราคาสูงมาก ปัจจัยในการเลือกซื้อเครื่องพิมพ์ 1. ความละเอียด เป็นตัววัดความชัดของการพิมพ์ โดยวัดเป็นจุดต่อนิ้ว (dot per inch :dpi ) เช่น600x600 dpi, 720x720 dpi เป็นต้น ความละเอียดยิ่งมากความคมชัดยิ่งสูง สำหรับการเลือกก็จะอยู่ที่ลักษณะการใช้งาน 2. ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ต่อหน้า ควรเลือกเครื่องพิมพ์ในรุ่นที่มีโหมดประหยัด 3. ความเร็วในการพิมพ์ ระดับต่ำสุดคือ จะพิมพ์ได้ 2 หน้าต่อนาที บางเครื่องอาจพิมพ์ได้ถึง 7 หน้าต่อนาที 4. หมึกพิมพ์ ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่ใช้หมึกแบบแยกตลับสี เวลาสีใดหมดก็เปลี่ยนเฉพาะสีนั้น แต่ถ้าใช้ตลับรวมจะต้องเปลี่ยนทั้งตลับ 5. ราคาของหมึกพิมพ์ไม่ควรสูงนัก 6. โปรแกรมที่ให้มากับเครื่องพิมพ์ เช่น โปรแกรมสติ๊กเกอร์

วิธีดูสเปคคอม ง่ายๆ ทั้งเบื้องต้น และอย่างละเอียด

สำหรับ วิธีดูสเปคคอมของเรานั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี ทั้งใช้โปรแกรม และไม่ต้องใช้โปรแกรม ซึ่งเป็นสิ่งที่คนใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนควรจะรู้ เพื่อนำไปตรวจสอบเวลาซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ หรือใช้ในการติดตั้งไดร์เวอร์ เป็นต้น โดยในทิปส์นี้ เราจะมาเรียนรู้การดูสเปคคอมพิวเตอร์โดยไม่ใช้โปรแกรมช่วย และวิธีดูสเปกคอมด้วยการใช้โปรแกรมอย่าง โปรแกรม CPU-Z และ โปรแกรม GPU-Z เข้ามาช่วย

สามารถทำได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการ Windows 10, Windows 8.1, Windows 8, Windows 7, Windows Vista และ Windows XP มีขั้นตอนอย่างไร มาดูกันเลย

เรามาเริ่มจากการดูสเปคเบื้องต้นกันก่อน บนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ข้อมูลสเปคเครื่องจะถูกรวบรวมเอาไว้ให้แล้วในหน้า About

• Installed RAM: ขนาดความจุของหน่วยความจำชั่วคราว หรือแรม (*RAM) ที่มี

• Device ID: รหัสของอุปกรณ์ มีประโยชน์สำหรับไว้ให้ช่างใช้ยืนยันอุปกรณ์เวลาที่คอมพิวเตอร์มีปัญหา

• Product ID: รหัสผลิตภัณฑ์ ที่เชื่อมโยงกับระบบปฏิบัติการของผู้ใช้

• System Type : รูปแบบของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture) ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ คือ 32 บิต (x86) หรือ 64 บิต (x64)

• Pen and Touch: ข้อมูลว่าหน้าจอของเรารองรับการสั่งงานผ่านระบบสัมผัสหรือปากกาด้วยหรือไม่

• Experience : เวอร์ชันของตัว Experience Pack (พวกคุณสมบัติ หรือแอป ที่อัปเดตแยกออกมาจาก Windows Update)

วิธีนี้จะเป็นการตรวจสอบสเปกคอมพิวเตอร์ของเราอย่างละเอียด ผ่านคำสั่ง "dxdiag" และ "msinfo32" ผ่านโปรแกรม Run โดยทั้งสองคำสั่งนี้ มีจุดประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน

• dxdiag: ย่อมาจาก DirectX diagnostics ใช้ดูข้อมูลเกี่ยวกับด้านกราฟิก รวมไปถึงข้อมูล DirectX ตัวข้อมูลจะประกอบไปด้วยการ์ดจอ และซาวด์การ์ด นอกจากจะใช้ดูรุ่นของการ์ดจอได้แล้ว ยังใช้เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับไดร์เวอร์ที่เกี่ยวข้องกับ DirectX ได้ โดยเราสามารถบันทึก Log เหล่านี้เป็นไฟล์ .TXT ได้ด้วยนะ

• msinfo32: จะแสดงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดแบบละเอียดยิบทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์

การเรียกโปรแกรม Run ทำได้ง่ายๆ ด้วยการกดปุ่ม Windows+R บนแป้นคีย์บอร์ด เราจะเห็นช่องสำหรับพิมพ์คำสั่งที่ต้องการเรียกใช้งาน

วิธีดูสเปกของการ์ดจอ และ เวอร์ชันของ DirectX

เปิดโปรแกรม Run พิมพ์ว่า "dxdiag" ลงไปในช่อง Open: แล้วกด "ปุ่ม Enter" หรือ คลิกที่ "ปุ่ม OK" เพื่อเปิด DirectX Diagnostics Tool ขึ้นมาดูข้อมูล โดยสำหรับ "คำสั่ง "dxdiag" จะมีรายละเอียดของระบบ, หน้าจอ, ซาวด์การ์ด และ Input อื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกข้อมูลเป็นไฟล์ ได้อีกด้วย (คลิกที่ "ปุ่ม Save All Information")

ข้อมูลใน Diagnostics Tool จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ คือ

• System: ข้อมูลในหน้านี้จะคล้ายคลึงกับเนื้อหาด้านบนที่เรากล่าวไปแล้ว แต่จะมีเพิ่มข้อมูลของเวอร์ชัน BIOS และเวอร์ชัน DirectX เข้ามา

• Sound: ระบบเสียงที่ใช้งานอยู่ สามารถมีได้หลายแท็บ Sound 2, 3, ... ได้หากเรามีเชื่อมต่อหลายช่องทาง เช่น ต่อหูฟัง และลำโพง เอาไว้พร้อมกัน

วิธีดูเวอร์ชันของ Bios และการทำงานทุกอย่างภายในคอมพิวเตอร์

เปิดโปรแกรม Run พิมพ์ว่า "msinfo32" ลงไปในช่อง Open: แล้วกด "ปุ่ม Enter" หรือ คลิกไปที่ "ปุ่ม OK" เพื่อเปิดรายละเอียดระบบ (System Information) ภายใน System Information จะมีข้อมูลทุกอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งาน ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ อย่างละเอียดยิบ อยากรู้ข้อมูลของชิ้นส่วนไหนในเครื่อง หรือข้อมูลของไดร์เวอร์ บริการในระบบ ฯลฯ เข้ามาดูได้ด้วยคำสั่งนี้เลย

วิธีดูสเปกคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดูสเปกคอมพิวเตอร์

ถึงแม้ว่าเราจะสามารถดูสเปกได้โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมช่วย แต่ถ้าอยากดูข้อมูลเชิงลึกที่มีรายละเอียดเชิงลึกมากขึ้น เราก็จำเป็นต้องใช้โปรแกรม 3rd-party เข้ามาช่วย ซึ่งโปรแกรมที่เราอยากแนะนำก็คือ โปรแกรม CPU-Z และ โปรแกรม GPU-Z โดยทั้งคู่เป็น โปรแกรมแจกฟรี สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

โปรแกรม CPU-Z

โปรแกรมดูสเปกคอมพิวเตอร์ CPU-Z เป็น โปรแกรมฟรีแวร์ ที่มีความสามารถในการบอกข้อมูลของ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit หรือ CPU) ที่เราใช้งานอยู่อย่างละเอียด และยังสามารถบอกข้อมูลของการ์ดจอ, เมนบอร์ด และแรมได้อีกด้วย ครบเครื่องเรื่องสเปกจบในโปรแกรมเดียว ข้อมูลของ CPU ที่โปรแกรม CPU-Z สามารถบอกได้ จะลงลึกไปถึง Code Name, TDP (อัตราการใช้ไฟ), ชนิด Socket ที่ CPU ใช้ ฯลฯ ละเอียด

โปรแกรม GPU-Z

โปรแกรม GPU-Z มีความสามารถตามชื่อของมันเลย คือ บอกรายละเอียดของ หน่วยประมวลผลกราฟิก (Graphic Processing Unit หรือ GPU) ของเรา โดยเจาะจงไปที่ตัวการ์ดจอ (Graphic Card) เท่านั้น ไม่ได้บอกรายละเอียดสเปกด้านอื่นๆ เหมือนกับ โปรแกรม CPU-Z แต่ถ้าเราอยากรู้สเปกการ์ดจอที่ใช้งานอยู่อย่างละเอียด

Write a Comment