คอมพิวเตอร์มองไม่เห็นฮาร์ดดิสก์ เพราะอะไร และแก้ไขอย่างไร (HARD DRIVE NOT DETECTED BY YOUR COMPUTER? WHAT COULD BE THE ISSUE AND HOW TO FIX)
ซ่อม Hard Disk เสียด้วยเงิน 300 บาท ได้ทุกอาการ HDD มองไม่เห็น ไม่หมุน ไม่ขึ้นไดรฟ์
เมื่อฮาร์ดดิกส์ของคุณมีปัญหา บทความนี้จะสอนให้คุณซ่อมฮาร์ดดิสเสียด้วยเงิน 300 บาท ครอบคลุมทุกอาการ HDD มองไม่เห็น ไม่หมุน ไม่ขึ้นไดรฟ์ หากวิธีที่เราแนะนำไม่ได้ผล เราได้จัดอันดับ 5 ศูนย์กู้ข้อมูลที่ดีที่สุดในไทยมาให้คุณแล้ว
หมายเหตุ โปรดระมัดระวัง และอ่านคำแนะนำของซอฟแวร์กู้คืนข้อมูล ไม่เหมาะกับคนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ
1. ลองเปลี่ยน Port USB ที่ใช้งาน เพราะหลายครั้ง เราพบว่าเกิดจากพอร์ต USB ของคุณหลวม หรือ เสียหายจากการถอดเสียบเข้าออกอยู่เป็นประจำ
3. สำหรับ Seagate เท่านั้น ลองหา External Box ตามรูป ยี่ห้ออื่นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากตัว Harddisk และพอร์ต USB เป็นแบบยึดติด ไม่สามารถถอดเปลี่ยนกล่องได้
1. ลองเปลี่ยน Port USB ที่ใช้งาน เพราะหลายครั้ง เราพบว่าเกิดจากพอร์ต USB ของคุณหลวม หรือ เสียหายจากการถอดเสียบเข้าออกอยู่เป็นประจำ 3. ลองหา Docking ตามรูป เพื่อต่อ ฮาร์ดไดรฟ์ของคุณโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบการทำงาน
เมื่อฮาร์ดดิกส์ของคุณตกด้วยความไม่ตั้งใจ หรือเป็นเรื่องโชคร้ายเช่น หลุดการเชื่อมต่อระหว่างการใช้งาน ถือเป็นอาการเสียที่ร้ายแรง และซวยมากขึ้นไปอีกหากมีข้อมูลสำคัญอยู่ภายใน เราจึงขอแนะนำศูนย์กู้ข้อมูลที่ดีที่สุดในประเทศไทย
วิธีซ่อมฮาร์ดดิสก์ที่ติด Bad Sector ให้กลับมาทำงานได้ (แต่ไม่หายขาด)
แบดเซคเตอร์ (Bad Sector) ที่ว่านี้ก็คือ พื้นที่ส่วนหนึ่งในฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) แบบจานหมุน (คนละแบบกับ SSD นะ อย่าเข้าใจผิด) ที่ทำงานผิดปกติ หรือมีอาการอ่านเขียนข้อมูลไม่ได้ ส่งผลให้เวลาเปิดดูไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่มีจุด Bad Sector อยู่ มักจะเกิดอาการคอมฯ ค้าง (Not Responding) อยู่เป็นประจำ หรือในกรณีที่เกิด Bad Sector บนไดรฟ์สำคัญๆ ที่เก็บ Windows จะทำให้เกิดอาการจอฟ้า (Blue Screen of Dead) จนไม่สามารถบูทเข้าระบบฯ ได้ เรียกได้ว่าใครเจออาการแบบนี้ไป ก็เตรียมตัวเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ได้เลย
• Hard Bad Sector หรือ "แบดแท้" อธิบายง่ายๆ เลยคือ การเกิดความเสียหายทางกายภาพแบบถาวรบนแถบสารเคลือบแม่เหล็ก กับหัวอ่าน (คล้ายรอยขีดข่วนหนักๆ บนแผ่น CD / DVD / Blu-Ray) ในกรณีนี้ ไม่สามารถซ่อมแซมได้ ถ้าโดนเข้าไปคงต้องทำใจเลย
• Soft Bad Sector หรือ "แบดเทียม" อาการที่ว่า เกิดจากตัวระบบฯ ทำงานผิดพลาด เช่น ตัวฮาร์ดดิสก์กับระบบฯ จำตำแหน่งข้อมูลคลาดเคลื่อนจากจุดเดิม ส่งผลให้อ่านข้อมูลไม่ได้ ในกรณีนี้สามารถซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้ แต่ไม่หายแบบถาวรนะ มีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำอีก
เมื่อรู้กันไปแล้วว่า Bad Sector มีอยู่ 2 รูปแบบ ทีนี้ลองมาดูกันว่า "แบดแท้" และ "แบดเทียม" จะเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
• แบดแท้ (Hard Bad Sector) เกิดจากการกระทำโดยตรงต่อฮาร์ดดิสก์ เช่น
• แบดเทียม (Soft Bad Sector) เกิดจากการทำงานผิดพลาดของระบบฯ เช่น
สังเกตได้ว่า แบดแท้จะเกิดจากการกระทำโดยตรง ส่วนแบดเทียมจะเป็นที่ระบบฯ คงพอเข้าใจคร่าวๆ เกี่ยวกับเจ้า Bad Sector แล้วใช่ไหมครับ ว่ามันคืออะไร และเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ทีนี้มาถึงขั้นตอนการตรวจสุขภาพฮาร์ดดิสก์กันบ้างว่าจะมีเจ้า Bad Sector หรือไม่
เป็นความจริงที่ว่า ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนทุกลูกมีโอกาสเกิด Bad Sector แต่จะเร็วหรือช้านั้น มันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งลักษณะการใช้งาน ภาคจ่ายไฟ หรือแม้แต่ส่วนประกอบภายใน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ ไม่มีใครรู้ และไม่สามารถระบุระยะเวลาที่ชัดเจนได้
ง่ายๆ เลยคือ เราจะเห็นสัญญาณเตือนแบบชัดเจน อย่างเช่น คอมฯ มีอาการค้างเป็นประจำเวลาเปิดดูไฟล์เดิมๆ หรือเกิดอาการจอฟ้า (Blue Screen) ขณะบูทเข้าระบบฯ ซึ่งอาการนี้แม้จะทำการรีสตาร์แล้ว แต่ก็ไม่หายไป ยังคงเกิดขึ้นซ้ำๆ
วิธีที่ช่วยยืดอายุของฮาร์ดดิสก์ก็คือ หมั่นทำการจัดเรียงข้อมูล (Disk Defragment) ภายในเพื่อให้ฮาร์ดิสก์อ่านเขียนข้อมูลได้อย่างลื่นไหล (แต่สำหรับใครที่ใช้ SSD ไม่ควรทำ Defragment เพราะจำนวนครั้งในการอ่านเขียนมีจำกัด ถ้าทำบ่อยๆ อายุการใช้จะสั้นลง) และทำการเช็คสุขภาพของฮาร์ดดิสก์ด้วยโปรแกรมดังนี้
เจ้าโปรแกรมเหล่านี้ จะใช้ในการตรวจสอบสุขภาพของฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน ว่าทุกส่วนยังทำงานปกติอยู่หรือไม่ หรือถ้าไม่ปกติเกิดจากจุดไหน เพื่อที่จะได้ซ่อมแซมและแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยผลจาการสแกนส่วนมากจะแบ่งออกเป็น 2 สีหลักๆ คือ
หมายเหตุ : ใช้โปรแกรมทดสอบฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน กับ SSD ไม่ได้เพราะเทคโนโลยีที่ใช้ไม่เหมือนกัน การเก็บข้อมูลไม่เหมือนกัน อาจทำให้ค่าที่แสดงออกมาผิดพลาดอาจเห็นจุดสีแดงโผล่ขึ้นมา ทั้งๆ ที่ไม่เป็นอะไร
เมื่อรู้ตัวว่าฮาร์ดดิสก์ติด Bad Sector แล้ว เราไม่รู้หรอกว่าเป็นแบดแท้หรือแบดเทียม วิธีรับมือที่ดีที่สุด ส่งไปสำรองข้อมูล (Back up) ภายในกับศูนย์ที่ให้บริการ เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย
แต่ถ้าใครอยากลองแก้ Bad Sector ด้วยตัวเองก็มีหนทางอยู่ แต่ต้องเข้าใจก่อนนะว่าหากทำผิดขั้นตอน ข้อมูลอาจหายไปหมดได้แบบง่ายๆ เลย มีความเสี่ยงพอตัว แต่ถ้าใครรับความเสียงได้ก็มาดูวิธีทำกันเลย โปรแกรมเฉพาะทางที่ใช้แก้ Bad Sector สำหรับฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน ก็มีดังนี้
ซึ่งเจ้าพวกนี้ "สามารถซ่อมแซม Bad Sector ได้เฉพาะ แบดเทียม" และไม่สามารถป้องกันหรือทำให้หายขาดได้ ถ้าเกิดซ่อมแซม 1-2 รอบแล้วจุดแดงยังไม่หายไป ก็ให้ตีไปเลยว่ามันเป็น "แบดแท้" ซ่อมไม่ได้เตรียมตัวส่งศูนย์ แล้วโบกมือบ๊ายบายฮาร์ดดิสก์ลูกนั้นไปเลย
ฮาร์ดดิสก์เกิด Bad Sector แบบ "แบดเทียม" สามารถซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้ แต่ไม่รับประกันนะว่า จะไม่เกิดอีก โดยวิธีการซ่อม Bad Sector แบ่งออกเป็น 2 กรณีหลักๆ คือ บูทเข้าระบบฯ ได้ กับ บูทเข้าไม่ได้
สองกรณีนี้ มีวิธีการซ่อมแซมที่แตกต่างกัน โดยกรณีแรกมีขั้นตอนที่ง่ายกว่า เพราะมันสามารถบูทเข้าไปในระบบปฎิบัติการ Windows แล้วใช้ฟีเจอร์ Error Checking (ที่มีติดมากับระบบฯ อยู่แล้ว) ในการสแกนและซ่อมแซม Bad Sector ด้วยการกดเพียงไม่กี่ครั้ง แล้วก็รอจนเสร็จ ดูขั้นตอนการทำที่ด้านล่าง
ส่วนกรณีที่สอง บูทเข้าระบบฯ Windows ไม่ได้ เพราะติดจอฟ้ามรณะ จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่า ทั้งต้องเตรียมคอมฯ อีกเครื่อง เตรียมแฟลชไดรฟ์ ดาวน์โหลดโปรแกรม ติดตั้งโปรแกรมลงแฟลชไดรฟ์ ฯลฯ ซึ่งต้องทำหลายขั้นตอนมากๆ ดูขั้นตอนการทำที่ด้านล่าง
• เอาแฟลชไดรฟ์ที่ติดตั้งโปรแกรมมาเสียบกับคอมฯ ที่ฮาร์ดดิสก์ติด Bad Sector
เมื่อบูทได้แล้วจะเข้ามาอยู่ในหน้าหลักของโปรแกรม HDD Recovery จากนั้นใส่ตัวเลขเพื่อเลือกฮาร์ดดิสก์ที่ติด Bad Sector (ในกรณีมีฮาร์ดิสก์หลายลูก)
• รอจนโปรแกรมทำการสแกนและซ่อมแซมจนเสร็จ (ส่วนเวลาที่ใช้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ ยิ่งความจุเยอะ ยิ่งใช้เวลานาน)
สุดท้ายลองเช็คดูว่าฮาร์ดดิสก์ของคุณที่ทำการสแกนไปแล้วนั้น มี Bad Sector ทั้งหมดกี่จุด และแต่ละจุดอยู่ตรงไหนบ้างโดยดูที่ด้านล่าง ตรงข้อความ "bad sectors found" กับ "bad sectors recovered" หรือกด ESC เพื่อออกไปเลือกที่หัวข้อ Show Statistics เพื่อดูตำแหน่งก็ได้
ถ้าหากจุดไหนที่สามารถซ่อมได้ มันจะขึ้นตัวอักษร R (Repaired) ให้เห็นแต่ถ้าจุดไหนที่ซ่อมไม่ได้มันจะขึ้นเป็นตัวอักษร B (Bad) ถ้าไม่แน่ใจก็ลองสแกนซ้ำดูอีกทีก็ได้ แต่ถ้าสแกนซ้ำยังเหมือนเดิม ให้คาดเดาไว้เลยว่าเปิด "แบดแท้" ซ่อมด้วยโปรแกรมไม่ได้
สุดท้ายนี้ หวังว่าข้อมูลที่ทางทีมงานนำมาแชร์จะมีประโยชน์ เพื่อที่ทุกคนจะได้เอาไปใช้ดูแลรักษาหรือซ่อมแซมนะครับ
คอมพิวเตอร์มองไม่เห็นฮาร์ดดิสก์ เพราะอะไร และแก้ไขอย่างไร (HARD DRIVE NOT DETECTED BY YOUR COMPUTER? WHAT COULD BE THE ISSUE AND HOW TO FIX)
คอมพิวเตอร์มองไม่เห็นฮาร์ดดิสก์ เพราะอะไร และแก้ไขอย่างไร
(HARD DRIVE NOT DETECTED BY YOUR COMPUTER? WHAT COULD BE THE ISSUE AND HOW TO FIX)
ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณไม่พบฮาร์ดดิสก์ อาจเกิดจากเหตุผลหลายประการหนึ่งในนั้นคือสายเชื่อมต่อ แต่ถ้าไม่ใช่ก็อาจเกิดจากปัญหาภายในตัวฮาร์ดดิสก์ซึ่งคุณไม่สามารถแก้ไขเองได้ แต่อย่างไรก็ดีถ้าคอมพิวเตอร์ ไม่พบฮาร์ดดิสก์สิ่งแรกให้คุณคิดว่าเป็นที่สายเชื่อมต่อไว้ก่อน โดยอาจลองหาสายเส้นอื่นมาลองเชื่อมต่อ
ถ้าคุณเพิ่งซื้อฮาร์ดดิสก์มาใหม่ อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าฮาร์ดดิสก์มีปัญหา คุณควรติดต่อเจ้าของผลิตภัณฑ์ เพื่อขอคำแนะนำ และอย่าลืมก่อนลองตรวจสอบปัญหาใดๆ ปิดเครื่องและชักปลั๊กเสียก่อน
ตรวจสอบ System Setup ให้แน่ใจว่า Setup HDD “On” ไว้แล้ว
เครื่องของคุณอาจตั้งค่า BIOS หรือ CMOS เป็นปิดการใช้งานไดรฟ์เอาไว้ ให้ตรวจสอบโดยกด F2 ตอนเปิดเครื่อง เพื่อเรียก System Setup ขึ้นมา แล้วเช็คดูการตั้งค่าถ้าเป็น Off อยู่ให้เปลี่ยนเป็น On
การเปิด System Setup อาจแตกต่างกันไปตามยี่ห้อคอมพิวเตอร์ คุณควรตรวจสอบกับผู้ผลิตก่อนดำเนินการ
ตรวจสอบสายสัญญาณ
เป็นไปได้ว่าสายสัญญาณที่เชื่อมระหว่างฮาร์ดดิสก์และเมนบอร์ดอาจหลุดหรือเสียหายเป็นเหตุ
ให้เครื่องไม่พบ ฮาร์ดดิสก์ การตรวจสอบอาจทำได้โดยเปลี่ยนสายเป็นเส้นอื่นดูหากปัญหายังอยู่แสดงว่า สาเหตุไม่ได้มาจากสายสัญญาณ
เช็คว่าฮาร์ดดิสก์หมุนหรือไม่
ถ้าคุณเชื่อว่าฮาร์ดดิสก์ไม่หมุน คุณสามารถลองตรวจสอบด้วยเทคนิคดังนั้
- คุณสามารถตรวจสอบโดยปิดเครื่อง เปิดฝาครอบเคส แล้วดึงสายสัญญาณออกแต่เสียบสาย จ่ายไฟไว้จากนั้นเปิดเครื่องอีกครั้ง หากฮาร์ดดิสก์หมุนคุณจะได้ยินเสียงหรือสัมผัสจากแรงสั่นสะเทือนได้
- หากฮาร์ดดิสก์ยังไม่ทำงาน ตรวจสอบว่าเพาเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟได้เพียงพอต่อการทำงาน ของฮาร์ดดิสก์หรือไม่
ฮาร์ดดิสก์อาจไม่ทำงานด้วยหลายเหตุผล แต่ที่พบบ่อยๆ คือเกิดความเสียหายทางกายภาพ ถ้าฮาร์ดดิสก์ของคุณเคยหล่น หรือเคยเปียกน้ำ ก็เป็นไปได้สูงที่มันจะเป็นสาเหตุให้ฮาร์ดดิสก์ไม่ทำงาน
คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านข้อมูลได้
อีกสาเหตุที่คอมพิวเตอร์ไม่พบฮาร์ดดิสก์ อาจเป็นเพราะไวรัส หรือไฟล์ข้อมูลถูกเขียนทับ การแก้ไข ปัญหาอาจทำได้ง่ายๆโดยการลบข้อมูลทิ้งให้หมด แล้วใช้ข้อมูลจากที่สำรองเอาไว้
วิธีนี้อาจไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ดีหากคุณไม่คุ้นเคยกับขั้นตอน หรือคุณไม่มีข้อมูลที่สำรองเอาไว้ ทางที่ดี ติดต่อเรา เรายินดีจะมอบคำแนะนำที่ดีแก่คุณ
หากปัญหาเป็นเรื่องของการเชื่อมต่อ คุณควรติดต่อเจ้าของผลิตภัณฑ์ แต่ถ้าเป็นปัญหาเรื่องการ กู้ข้อมูลเราสามารถจะช่วยเหลือคุณได้ ติดต่อเรา แล้วเราจะผ่านปัญหาที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ของคุณไปด้วยกัน
ติดต่อเราที่ IDR LAB ศูนย์กู้ข้อมูลที่ได้มาตรฐานและพร้อมที่สุดในประเทศไทย
ปรึกษาปัญหาและส่งตรวจเช็ค ประเมินก่อนซ่อมได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่ Line ID : @idrlab หรือ Hotline สายด่วนตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 094-692-8080 , 080-591-3536
Write a Comment