ict

สำหรับผู้เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ ไม่ควรซื้ออุปกรณ์มาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เอง ควรเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดขายเป็นชุดให้แล้ว และเลือกซื้อจากบริษัทที่เชื่อถือได้ เนื่องจากผู้ผลิตได้เลือกอุปกรณ์ต่างๆที่เหมาะสมมาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว

3.4.1 ซีพียู เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุดและปัจจัยแรกในการพิจารณาเมื่อคิดที่จะซื้อหรือประกอบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากผลต่อการเลือกซื้ออุปกรณ์ เช่น เมนบอร์ด เป็นต้น และซีพียูยังเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย ในการเลือกซื้อซีพียูสามารถพิจารณาได้หลายปัจจัย เช่น บริษัทผู้ผลิต ความเร็วซีพียู แคช ความเร็วของบัส

ปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อซีพียู

1. บริษัทผู้ผลิต ในปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตซีพียูชั้นนำ 2 บริษัท คือ บริษัทอินเทล (Intel Corporation) และบริษัทเอเอ็มดี (Advanced Devices: AMD) โดยทั้งสองบริษัทได้มีการผลิตซีพียูที่แบ่งตามจำนวนของแกนประมวลผล (processing core)

ชนิดของซีพียูที่แบ่งตามจำนวนของแกนประมวลผล

2. ความเร็วของซีพียู ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับความถี่สัญญาณนาฬิกา ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่คอยกำหนดจังหวะการทำงานประสานของวงจรภายในให้สอดคล้องกัน สัญญาณดังกล่าวจะมีหน่วยความถี่เป็นเมกะเฮิรตช์ (megahertz) หรือล้านครั้งต่อวินาที ถึงระดับกิกะเฮิรตช์ (gigahertz) หรือพันล้านครั้งต่อวินาที

3.หน่วยความจำแคช (cache) ในซีพียูมีหน่วยความจำแคช ซึ่งเป็นหน่วยความจำความเร็วสูงเพื่อให้การทำงานเร็วขึ้นเนื่องจากแรมมีความเร็วที่ช้ากว่าซีพียูจึงจำเป็นที่ต้องมีหน่วยความจำแคช เป็นที่เก็บข้อมูลชั่วคราวเพื่อให้ซีพียูทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น โดยควรพิจารณาเลือกซื้อซีพียูที่มีความจุของหน่วยคำจำแคชมาก

4. ความเร็วบัส คือ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูและอุปกรณ์อื่นๆ ควรพิจารณาซีพียูที่มีความเร็วของบัสสูงและสอดคล้องกับความเร็วของอุปกรณ์ เช่น เมนบอร์ด และแรม

การเลือกซื้อซีพียูที่ใช้กับพีซี เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน อาจใช้หลักการพิจารณา

3.4.2 เมนบอร์ด (mainboard) หรือ อาจเรียกว่า มาเธอร์บอร์ด หรือโมโบ (motherboard: mobo) เป็นแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปจะประกอบด้วยช่องสำหรับติดตั้งซีพียูไบออส ซิปเซ็ต ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำสายสัญญาณ และบัสต่างๆ ขั้วต่อสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมภายใน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไดร์ฟ และพอร์ตต่ออุปกรณ์รอบข้าง เช่น เมาส์ และคีย์บอร์ด ส่วนประกอบที่สำคัญบนเมนบอร์ดแสดง

ตัวอย่างแสดงส่วนประกอบต่างๆที่สำคัญบนเมนบอร์ด

3.4.3 แรม ในการเลือกซื้อแรมเพื่อ นำมาใช้งานกับพีซี มักจะเป็นแรมชนิดดีดีอาร์ เอสดีแรม (Double Data Rate Synchronous Dynamic : DDR SDRAM ) ซึ่งจะต้องพิจารณาประเภทของแรมให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด และสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปควรให้ความสำคัญในลำดับต่อมาคือ ขนาดความจุ และความเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย

ปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อแรม

1) ประเภทของแรม ต้องพิจารณาเลือกซื้อให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด แรมที่ใช้ในพีซี เช่น DDR , DDR2 และ DDR3 โดยแรมแต่ละชนิดจะมีตำแหน่งรอยบากที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถเสียบแรมบนสล็อตได้ถูกต้อง

2) ความจุ ปัจจุบันแรมมีให้เลือกตั้งแต่ความจุ 256 MB ขึ้นไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานด้านกราฟิกหรือมัลติมีเดียระดับสูง จะใช้แรมที่มีความจุสูงขึ้นตามไปด้วย สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมักจะติดตั้งแรมความจุ 1 GB ขึ้นไป

3) ความเร็วรอบ เป็นอัตราเร็วในการหมุนของฮาร์ดดิสก์เพื่อให้หัวอ่าน-เขียน เข้าถึงข้อมูลฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วรอบสูงจะทำให้มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง โดยทั่วไปฮาร์ดดิสก์ของพีซีจะมีความเร็วรอบอยู่ที่ 7,200 รอบต่อนาที (rpm)

3.4.4 ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) เป็นอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูล ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันโดยทั่วไป คือ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาด 2.5 และ 18. นิ้วนั้นนิยมใช้กับโน็ตบุ๊ก

ตัวอย่างฮาร์ดดิสก์

ปัจจัยในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล

1) การเชื่อมต่อ มาตรฐานการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานอยู่บนพีซีในปัจจุบัน ใช้มาตรฐาน EIDE และ SATA ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดว่ารองรับการเชื่อมต่อแบบใด

2) ความจุข้อมูล มีหน่วยเป็น กิกะไบท์ (GB) หรือเทระไบต์ (TB) ซึ่งขนาดความจุข้อมูลของฮาร์ดดิสก์นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน

3) ความเร็วรอบ เป็นอัตราเร็วในการหมุนของฮาร์ดดิสก์เพื่อให้หัวอ่าน-เขียน เข้าถึงข้อมูลฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วรอบสูงจะทำให้มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง โดยทั่วไปฮาร์ดดิสก์ของพีซีจะมีความเร็วรอบอยู่ที่ 7,200 รอบต่อนาที (rpm)

การเชื่อมต่อแบบ SATA และ EIDE

3.4.5 การ์ดแสดงผล (display card, graphics card หรือ video card)

ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลมาเป็นสัญญาณที่ส่งไปที่จอภาพ การ์ดแสดงผลอาจอยู่ในรูปแบบการ์ดหรืออาจติดตั้งมาบนเมนบอร์ดแล้ว

การที่ผู้ใช้ต้องการปรับปรุงการ์ดแสดงผลเนื่องจากต้องการใช้กับงานที่ต้องการแสดงผลภาพสามมิติได้อย่างคมชัด

ตัวอย่างการระบุคุณลักษณะของการ์ดแสดงผล

ปัจจัยในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล

1) ชิปประมวลผลกราฟิก หรือจีพียู (graphic processing unit : GPU) เป็นอุปกรณ์พิเศษที่เพิ่มความเร็วในการแสดงผลโดยลดภาระซีพียูในการคำนวณข้อมูลที่จะส่งไปที่จอภาพ

2) การเชื่อมต่อ มี 2 แบบ คือ แบบใช้กับบัส PCI Express และบัส AGP โดย PCI Express จะมีประสิทธิภาพสูงที่สุดซึ่งสามารถให้ความเร็วสูงสุดได้ถึง 16 GB/s ส่วน AGP มีประสิทธิภาพรองลงมา

3) ความจุของหน่วยความจำบนการ์ด หน่วยความจำบนการ์ด (Video RAM) เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลภาพที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์

3.4.6 ออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ (optical disk drive)

ที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น ซีดีไดร์ฟและดีวีดีไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่พีซีทุกเครื่องควรมี เนื่องจากซีดี/ดีวีดีไดร์ฟมีราคาถูกลงมากนอกจากนี้สื่อที่ใช้เก็บบันทึก เช่น แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี มีความจุสูงและมีราคาถูก

การพิจารณาเลือกซื้อออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ

จะพิจารณาจากความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูล ซึ่งแต่ละชนิดจะระบุความเร็วไว้แตกต่างกัน ตามชนิดของออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ ดังนี้

1. ซีดีไดร์ฟ (Compact Disc Drive : CD Drive) ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีได้อย่างเดียว

2. ดีวีดีไดร์ฟ (Digital Versatile Disc Drive : DVD Drive) ใช้อ่านข้อมูลได้ทั้งแผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี แต่ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดีหรือดีวีดีได้

3. ซีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ (Compact Disc ReWritable Drive : CD-RW Drive) สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดีได้ มีการระบุค่าความเร็วเช่น 52x/32x/52x หมายความว่า ความเร็วในการเขียน CD-R เท่ากับ 52x ความเร็วในการเขียนซ้ำ CD-RW เท่ากับ 32x และความเร็วในการอ่าน CD-ROM เท่ากับ 52x

4. คอมโบไดร์ฟ (Combo Drive) สามารถอ่านและเขียนข้อมูลบนแผ่นซีดี และอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดี มีการระบุค่าความเร็ว เช่น 52x/32x/52x/16x

5. ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ (Digital Versatile Disc ReWritable Drive : DVD+RW Drive) สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ทั้งแผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี มีการระบุค่าความเร็ว เช่น 20x/12x/20x/8x

ตัวอย่างความเร็วในการเขียน DVD-R /เขียนซ้ำ DVD-RW / เขียน DVD-R/เขียนซ้ำ DVD-RW

ที่มาของภาพ :

3.4.7 เคส (case) มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ทำหน้าที่เป็นโครงยึดให้กับอุปกรณ์ภายในต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แหล่งจ่ายไฟ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเคส การพิจารณาเลือกซื้อเคส

1. มีช่องระบายอากาศและระบบระบายความร้อน

2. มีพื้นที่หรือช่องที่จะเพิ่มอุปกรณ์ได้ เช่น การเพิ่มฮาร์ดดิสก์ การเพิ่มซีดี/ดีวีดีไดร์ฟ

3. ลักษณะของเคส

เคสในแนวนอน ที่เรียกว่า เดสก์ท็อปเคส (desktop case) และเคสในแนวตั้งที่เรียกว่า ทาวเวอร์เคส (tower case)

3.4.8 จอภาพ (monitor) ที่พบจะมีอยู่2ประเภทคือ จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube : CRT) และจอแอลซีดี (Liquid Crystal Display : LCD)ปัจจุบันจอแอลซีดีเป็นที่นิยมมาก

ปัจจัยในการเลือกซื้อจอภาพ

1. ความละเอียดของภาพ (resolution) หมายถึง จำนวนจุดหรือพิกเซลบนจอภาพ ถ้าหากมีความละเอียดสูงจะทำให้ภาพคมชัดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น จอภาพที่มีความละเอียด 1680 x 1050 เป็นจอภาพที่มีจุดภาพในแนวนอน 1680 จุด และมีจุดภาพในแนวตั้ง 1050 จุด

2.ขนาด (size) ขนาดของจอภาพ จะวัดเป็นแนวทแยงมุม เช่น จอ 19 นิ้ว และแบบ 21 นิ้ว

นอกจากนี้จอภาพยังสามารถเลือกความสว่าง (brightness) และความเปรียบเทียบต่าง (contrast) ได้อีกด้วย การแสดงผลของจอภาพนั้นจะต้องมีการ์ดแสดงผล เป็นตัวประสานงานระหว่างซีพียูกับจอภาพ โดยสัญญาณภาพจะถูกส่งออกมาจากการ์ดแสดงผลนี้ จอภาพโดยทั่วไปจะมีพอร์ตต่อแบบวีจีเอ (Video Graphics Array : VGA) ซึ่งเป็นตัวรับสัญญาณแอนะล็อกมาจากการ์ดแสดงผล จอภาพบางรุ่นจะมีพอร์ตต่อแบบดีวีไอ (Digital Video Interface : DVI) ซึ่งเป็นการรับข้อมูลภาพแบบดิจิทัลซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดกว่า 3.5 การรับประกันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะมีการรับประกันอายุการใช้งาน อุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีระยะรับประกันต่างกัน เช่น แรม รับประกันตลอดอายุการใช้งาน (life time) และฮาร์ดดิสก์อาจรับประกัน 1-5 ปี โดยอายุของการรับประกันที่นานขึ้น อาจมีผลทำให้ราคาสูง บนอุปกรณ์บางชนิดจะมีสติ๊กเกอร์รับประกันติดอยู่บนตัวอุปกรณ์ซึ่งหากมีการฉีกขาด การรับประกันจะสิ้นสุดลงทันที ดังนั้นจึงควรระมัดระวังเมื่อเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ 3.6 ข้อแนะนำการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

1. ไม่ควรเปิดฝาเครื่องคอมพิวเอตร์หากไม่จำเป็น เนื่องจากอาจมีโลหะที่นำไฟฟ้าเข้าไปในเครื่องทำให้เกิดไฟลัดวงจรได้

2. ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง เนื่องจากจะส่งผลให้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น

3. ไม่ควรตั้งคอมพิวเตอร์ใกล้กับประตูหรือหน้าต่าง เนื่องจากอาจโดนแสงหรือฝนสาดเข้ามาได้

4. ไม่ควรวางจอคอมพิวเตอร์ใกล้กับสนามแม่เหล็ก หรือลำโพงตัวใหญ่ๆ เนื่องจากสนามแม่เหล็กจะทำให้การแสดงภาพผิดเพี้ยนไปจากความจริง

5. ถ้าหากที่บ้านไฟตกหรือไฟกระชาก ควรมีเครื่องสำรองไฟ

6. ควรตั้งโหมดประหยัดพลังงานให้กับเครื่อง เพื่อถนอมอายุการใช้งานของเครื่อง

7. ไม่ควรวางของเหลวใกล้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

8. ไม่ควรปิดเครื่องโดยการกดสวิตช์ปิด ควรใช้คำสั่งปิดระบบปฎิบัติการ เนื่องจากระบบต้องดำเนินการตรวจสอบสถานะการทำงานต่างๆ ของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ก่อนจะหยุดการทำงาน 3.7การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของพีซี

เครื่องคอมพิวเตอร์นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่ทนต่อการใช้งาน ถ้าหากใช้งานเครื่องอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำที่กล่าวมา แต่อย่างไรก็ตามมีบางปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งผู้ใช้สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง เช่น

1. เครื่องหยุดการทำงานขณะใช้งานอยู่

สาเหตุ แหล่งจ่ายไฟกำลังไฟฟ้าไม่พอ อาจเกิดจากมีอุปกรณ์ต่อพ่วงอยู่กับคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก

การแก้ไข นำอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นที่ต่อพ่วงอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ออกไป หรือเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟที่มีกำลังไฟฟ้ามากขึ้น

2. เปิดเครื่องแล้วปรากฎข้อความว่า ” DISK BOOT FAILURE, INSERT DISK SYSTEM, PRESS ENTER”

สาเหตุ เครื่องบูตไม่พบฮาร์ดดิสก์ หรือระบบปฎิบัติการบนฮาร์ดดิสก์เสียหาย

การแก้ไข ตรวจสอบโปรแกรมไบออสว่า บูตฮาร์ดดิสก์ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่หรือติดตั้งระบบปฎิบัติการบนฮาร์ดดิสก์

3. อ่านหรือเขียนแผ่นซีดี/ดีวีดีไม่ได้

สาเหตุ หัวอ่านเลเซอร์ของไดรฟ์สกปรก

การแก้ไข ให้ใช้แผ่นซีดีทำความสะอาดหัวอ่าน โดยใส่แผ่นซีดีสำหรับทำความสะอาดเข้าไปในไดรฟ์ แปรงขนาดเล็กที่อยู่ใต้แผ่นซีดีจะปัดทำความสะอาดหัวอ่านเลเวอร์ของไดรฟ์

4. เครื่องรีสตาร์ต (restart)

สาเหตุ ซีพียูความร้อนสูง

การแก้ไข ตรวจสอบพัดลมของซีพียูว่าทำงานหรือไม่ สายที่ต่ออยู่แน่นหรือไม่

credit:

แหล่งที่มา :

Write a Comment