งานซ่อมเมนบอร์ดและฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่จำเป็นได้แก่ ไขควงไฟฟ้าจำนวน 1 ชุด และคีมปากจิ้งจกจำนวน 1 อัน

2. เมนบอร์ด เป็นส่วนที่สำคัญสำหรับเป็นฐานให้ชิ้นส่วนอื่น สามารถติดตั้งได้

5. ซีดีรอม(CD-ROM) ชนิดอ่านได้อย่างเดียวหรือทั้งอ่านหรือเขียนก็ได้ ความเร็วประมาณ 40X ขึ้นไป

2. เตรียมเมนบอร์ด(Mainboard)และน๊อต พร้อมคู่มือ ให้ศึกษาคู่มือของเมนบอร์ดให้เข้าใจถึงตำแหน่งต่างๆ บนเมนบอร์ดเช่น สล๊อตๆ แรม ซีพียู ชิปเซ็ตต่างๆ เป็นต้น

3. การติดตั้งซีพียู เริ่มต้นด้วยการเตรียมอุปกรณ์ได้แก่ ซีพียูและพัดลมระบายอากาศให้กับซีพียู

3.1 นำหน่วยประมวลผลกลาง(CPU) นำตัวซีพียูไปเสียบใส่ลงในในซ็อกเก็ตบนเมนบอร์ด

5. นำเมนบอร์ดที่ได้ติดตั้งซีพียูและแรมเรียบร้อยแล้วนำมายึดติดกับกล่องอุปกรณ์ด้วยการขันน๊อตยึด

8. นำสายไฟเส้นเล็กจากกล่องอุปกรณ์(CASE) มาเสียบยังซ๊อกเก็ตเล็กๆ ในเมนบอร์ด โดยสังเกตเมนบอร์ดจะมีข้อความเหล่านี้อยู่คือ LED, Reset, Switch, Turbo,LED ซึ่งตรงกับข้อความอยู่บนปลายสายไฟเล็ก ให้เสียบชื่อเดียวกันตรงกัน

9. นำการ์ดต่างๆ มาประกอบเข้ากับเมนบอร์ด ให้นำนึงหลักการง่ายๆ คือ ลักษณะการบากของการ์ดและลักษณะสล๊อตให้ลองวางเปรียบเทียบก่อนลงมือเสียบเข้าไปตรงแล้วกดลงให้สนิท

23. นำเครื่องไปประกอบเข้ากับจอภาพ คีย์บอรด์และต่อระบบไฟฟ้าเพื่อทำการทดสอบและดำเนินการกำหนดค่าไบออสให้กับเครื่องซึ่งจะกล่าวในหน่วยต่อไป

วิธีการถอดคอนเด็นเซอร์(condenser) ที่ภาษาช่างเขาเรียกกันว่า C (ซี) ซึ่งอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ตัวนี้มีบทความและความสำคัญอย่างมากต่อภาคไฟ? หรือระบบไฟของคอมพิวเตอร์นะครับ? เนื่องจากคุณสมบัติของคอนเด็นเซอร์ จะทำหน้าที่ในการเก็บประจุ และ คายประจุไฟฟ้า? เพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่ไปเลี้ยงวงจรมีความเรียบ นิ่ง? ไม่มีการรบกวน (Ripple) ออกไปรบกวนวงจร ทำให้วงจรเกิดความเสถียรในการทำงานอย่างมากครับ ในภาคไฟของคอมพิวเตอร์โดยรวมแล้ว จะมีคอนเด็นเซอร์อยู่หลายจุดด้วยกัน ทั้งด้านกราวด์ร้อน(ไฟสูง 310 โวลท์) และกราวเย็น (ไฟต่ำ 3.3,5,12 โวลท์) เป็นสเป็คแรงไฟของ Switching ของ PC นะครับส่วนของโน๊ตบุ๊ค จะอยู่ในอะแดปเตอร์ ซึ่งก็คือสวิทชิ่งเช่นกัน ที่ด้านกรวด์เย็นจะมีแรงไฟออกเลี้ยงวงจรประมาณ 18 – 20 โวลท์ 3 .5 แอมป์ ขึ้นไป ซึ่งจะเพียงพอต่อการเลี้ยงวงจรของโน๊ตบุ๊คครับ

ในความที่คอนเด็นเซอร์ จะมีแผ่นเพทสองแผ่นที่อยู่ไม่ติดกัน? คุณสมบัติในการเก็บประจุไฟฟ้า ที่ถูกเรียกเป็นฟารัด หรือเป็นความจุในการจัดเก็บประจุไฟฟ้านั้น ถ้าปริมาณความจุสูงๆ ก็จะสามารถเก็บกรองประจุไฟฟ้าได้มาก และทำให้ระดับแรงไฟนิ่งเรียบ กว่า ตัวที่มีค่าความจุต่ำ เช่น ค่า 1000 ไมโครฟารัด จะด้อยกว่า 3300 ไมโครฟารัด เป็นต้นนะครับ

1.สำหรับในบทความนี้ ผมขอนำเรื่องทางพีซีมากล่าวเสริมหน่อยนะครับ เพราะจะดูได้เข้าใจมากขึ้น อาการที่เกิดขึ้นนั้น มีมากมายครับ? บางครั้งเพื่อนๆอาจไม่คิดก็ได้ว่าเกิดจากอุปกรณ์ตัวนี้ อาการเมื่อใช้วินโดว์ไปสักพัก ก็เกิดการแฮ้งค์? เม้าส์ค้าง? ต้องรีเซ็ทเครื่องบ่อยมาก อาการเมื่อกำลังเข้าไปอยู่ในวินโดว์ได้สักพัก? หรือกำลังใช้งานอยู่ ก็เกิดการ Restart เครื่องเอง หรือไม่ก็ระบบไฟปิดไปเอง? แล้ว ก็เปิดขึ้นมาเอง เหมือนถูกผีหลอก อาการเมื่อกำลังบูทเข้าวินโดว์ ซึ่งในขณะที่โลโก้ของวินโดว์กำลังโชว์ อยู่ สักพัก ก็เกิดหน้าจอน้ำเงิน (blue screen) อาการที่ไม่สามารถจะติดตั้งวินโดว์ได้ผ่าน นอกเหนือจากการที่ได้ตรวจเรื่องของ ความร้อน การโอเวอร์คล๊อก เรื่องของแรม เรื่องของ VGA และอื่นๆ แล้ว? ก็อย่าลืมมองที่? Condenser ด้วยนะครับ

2.คราวนี้มาถึงว่า เราจะสังเกตุยังไง? ก็ขอให้เพื่อนๆดูตามรูปและขั้นตอนที่ผมกำลังจะบอกต่อไปนี้นะครับ ให้สังเกตุจากรูปนะครับว่า C เน่า C บวมมีหน้าตายังไง? คงขอใช้รูปเป็นตัวอธิบายนะครับ

3.รูป ซี บวม และรูปใน power sv เป็นยังไงครับเพื่อน พอนึกภาพออกไม๊ครับ อย่าไปมองว่า เว๊ปเกี่ยวกับโน๊ตบุ๊ค นั้นจะต้องมีเรื่องเกี่ยวกับโน๊ตบุ๊คอย่างเดียวนะครับ เรื่องที่เกี่ยวพันรอบข้างก็มี สามารถนำมาปรับประยุกต์ให้ใช้งานได้ เป็นแนวทางในการปฏิบัติทางเชิงช่างด้านฮาร์ดแวร์ต่อไปครับ? ส่วนเรื่องของการที่จะถอดซีนั้น ผมจะนำไปเขียนในบทความต่อไปนะครับ

Write a Comment