ประกอบคอมพิวเตอร์ - GotoKnow
ผมได้สัมผัสกับคอมพิวเตอร์มาเป็นระยะเวลาพอสมควร อ่านหนังสือบ้าง ค้นคว้าบ้าง ดูจาก internet บ้าง สังเกตช่างซ่อมคอมฯ บ้าง ฯลฯ และได้เห็นผู้ใช้คอมฯ ลำบากใจเวลาเครื่องใช้การไม่ได้ บางทีโดนช่างฯหลอกบ้าง ไม่ค่อยสบายใจเลย ก็ขออนุญาตนำความรู้เท่าที่มีมาบอกกล่าวเล่าสู่กันฟัง(ไม่เก่งนะครับ แต่อยากขยายความรู้กับผู้ี่ที่ไม่เป็น เป็นวิทยาทานครับ) โดยก่อนอื่นท่านควรจะมีความรู้ความสามารถในเรื่องต่อไปนี้นะครับ เพราะสำคัญในการประกอบคอมพิวเตอร์
1. ชื่ออุปกรณ์ต่างๆ สัญลักษณ์หรือรูปร่างรวมทั้งหน้้าที่ของอุปกรณ์นั้นๆ(อย่างธรรมดาครับ เช่น แรม อยู่ตำแหน่งใกล้ๆ C P U รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำหน้าที่เพิ่มความจำให้กับเครื่องฯ)
3. การลงระบบปฏิบัติการและการลงโปรแกรมต่างๆ(สำคัญที่สุด เพราะถ้าลงไม่ได้คอมฯก็ไม่ทำงาน ใช้งานไม่เต็มที่)
4. ความรู้ทางภาษาอังกฤษ เพราะโปรแกรมส่วนใหญ่มักเป็นภาษาอังกฤษ บางที่ต้องเดาอย่างมีเหตุผลในการลงระบบต่างๆ ของโปรแกรมนั้นๆ
5.โปรแกรมต่างๆ ทั้งระบบการค้า ระบบฟรี(อย่าลืม โปรแกรมกำจัดไวรัสด้วยนะครับ เพราะผมเพิ่งจะโดนไวรัสไป เมื่อ 8 ธ.ค. 53 นี่เองครับ)
6. รุ่นของคอมพิวเตอร์ในแต่ละระบบ(สะดวกในการลงระบบ โดยที่คอมฯทำงานได้อย่างเต็มที่)
7.ควรมีอุปกรณ์สำรองเป็นบางส่วน(เฉพาะที่คาดว่าจะเสียได้ง่ายๆ เช่น แรม การ์ดจอฯ เพราะที่เจอปัญหาบ่อยที่สุด คือ แรม รองลงมาคือ การ์ดจอ )
8.เสียงบีพ เสียงสวรรค์สำหรับผู้ประกอบคอมฯ เพราะเสียงเป็นตัวบอกให้ทราบว่าเครื่องทำงานได้หรือไม่ ผิดปกติตรงไหน สำคัญตรงที่ว่า แต่ละค่ายจะกำหนดเสียงไม่เหมือนท่านต้องมีไว้เพื่อตรวจสอบการทำงานครับ
9. เครื่องมือที่จำเป็น เช่น ไขควงแม่เหล็กสำหรับจับน๊อต คีมคีบจัมเปอร์เพื่อเปลี่ยนค่าต่างๆ ที่จับ C P U ออกจากsocket ฯ
- เครื่องที่ 1 (เมนบอร์ดที่ใช้เพื่อศึกษา คือ MICRO-STAR socket 7)
ขั้นตอนที่ 1 นำเคส(Case)มาวางนอนควำ่ลงโดยหงายข้างด้านขวามือขึ้นมา ถอดฝาข้างออก ใส่เมนบอร์ดลงไปโดยให้port ต่างๆ ตรงกับช่องทางด้านข้างหลังของเคสใส่น๊อตยึดเมนบอร์ดกับเคสให้เรียบร้อย
ผู้เขียนนำสายสัญญาณวางไว้บนซ้ายสุด ตามมาด้วยกล่องใส่น๊อต ซี พี ยู แผ่นระบายความร้อนพร้อมสายไฟ แรม 3 แถว ไขควง การ์ดจอ และการ์ดแลน ฯ ทั้งนี้ขึ้นกับความสะดวกของผู้ทำงานแต่ละคนครับ
ขั้นตอนที่ 3 แสดงขาของC P U ที่ยื่นออกมา เพื่อเสียบลงไปในsocket ครับ ตามภาพสังเกตมุมล่างด้านขวามือจะเป็นขาที่หนึ่งครับ ต้องเสียบให้ตรงร่อง มิฉะนั้นจะเสียบไม่เข้าครับ ส่วนข้างล่างเป็นheatsink ที่ทา thermal compoundไว้เพื่อระบายความร้อนออกจากC P Uครับ สำหรับแผ่นสีเขียวทางซ้ายเป็น sd ram ครับ
ขั้นตอนที่ 4 เมนบอร์ดเมื่อขันน๊อตเรียบร้อยแล้วให้เสียบสายสัญญาณต่างๆ เพื่อแสดงทางด้านหน้าของเคส โดยดูจากคู่มือ หรือเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีสัญลักษณ์หรือข้อความแจ้งไว้ครับ แท่นสี่เหลี่ยมสีครีมตรงกลางนั่นหละครับคือsocketใส่ CPU ครับ แต่ท่านต้องดึงคานออกมาก่อนนะครับ ไม่งั้นจะใส่ไม่ได้ครับ
ขั้นตอนที่ 5 สังเกตให้ดีครับ ที่CPU ก็ต้องทาthermal compound เหมือนกันครับ(มุมล่างซ้ายคือขาหนึ่ง หรือดูที่เมนบอร์ดจะมีเครื่องหมายลูกศรสีขาวกำกับไว้ครับ และจะมีข้อมูลประกอบทางล่างซ้ายของภาพครับเกี่ยวกับการปรับแต่งความเร็ว CPU ครับ
ขั้นตอนที่ 6 เมื่อสวมCPUลงsocketแล้วให้ดึงคันโยกลงเพื่กดCPU ไว้ให้แน่นจากนั้นจึงคล้องคลิปเพื่อกดheatsinkติดกับCPU แล้วอย่าลืมเสียบสายไฟเพื่อเลี้ยงพัดลมที่ติดอยู่บนheatsinkด้วยครับ เพราะหากไม่ติดพัดลมแล้วการระบายความร้อนจะไม่เพียงพอ ทำให้ใช้คอมฯไปได้ระยะหนึ่งแล้วคอมฯจะHang ครับ
ขั้นตอนที่ 7 ใส่แรมลงไปใน slot โดยกดลงไปตรงๆ สลักที่อยู่ตรงปลายทั้งสองข้างจะเด้งเข้ามาlockแรมเองครับ อ้อ..! อย่าลืมครับถ้าซื้อเมนบอร์ด พยายามเลือกที่มีช่อมใส่แรมสัก 3 แถวจะดีครับ เพราะสามารถupgradeได้ในอนาคตครับ
ขั้นตอนที่ 8 ตรงมุมบนขวาของภาพนี้จะมี jumper สำหรับปรับแต่งเครื่องครับ สามารถปรับความเร็วCPU ได้ตั้งแต่ 200 - 500 MHz ครับ ตรงนี้ท่านต้องมีตารางการปรับแต่งโดยมีคู่มือประกอบครับ
ขั้นตอนที่ 9 ภาพบนแสดงการต่อไฟจากเพาเวอร์ซับพลายไปเลี้ยงเมนบอร์ด โดยสังเกตจากร่องที่บากไม่เหมือนกัน หากเสียบลงไปไม่ได้แสดงว่าไม่ตรงให้เปลี่ยนแนวใหม่ ส่วนทางด้านขวามือเป็นการต่อสายสัญญาณลงไปในslotครับ
ขั้นตอนที่ 10 ถ้าเป็นไปได้ควรซื้อเมนบอร์ดที่มีตารางปรับแต่งค่าbiosพิมพ์ไว้บนตัวเมนบอร์ดจะดีครับ เพราะบางทีคู่มือเยอะๆ อาจหลงลืมไปได้หรือหาคู่มือไม่เจอ ผมเคยเป็นแล้วครับ เพราะมีคู่มือเยอะแยะไปหมดบางทีหลงลืมไปหาไม่เจอก็ไม่สามารถทำอะไรได้ครับ ภาพนี้เลยถ่ายมาให้ดูตัวอย่างครับจะทำให้เราเห็นง่ายขึ้นครับ
-เครื่องที่ 2 ผมได้รับซ่อมและประกอบเครื่องคือ matsonic ms63805g ดูตามภาพได้ครับ
3. มองจากด้านข้างเมนบอร์ดจะเห็นอุปกรณ์ครบถ้วนและมีchipเสียงมองเห็นได้ชัดครับ(แผ่นกระดาษสีฟ้าติดทับอยู่ครับมีคำว่าsound)
4. ภาพชัดๆ ของsocket 7 อย่าลืมก่อนใส่ CPU ลงไปต้องดึงคันโยกขึ้นมาก่อนนะครับ
5. การจัดวางตำแหน่งของ drive A ไม่เหมาะครับเพราะมาอยู่ชิดกับ PCI ทำให้เกะกะเวลาติดตั้งการ์ดอื่นๆ เพิ่มเติม ทางด้านล่างขวาคล้ายๆ เม็ดกระดุมคือ Batฯ เลี้ยงbios ส่วนสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้งคือ bios ครับ
8. เอาthermal compound ทาCPU ให้เรียบร้อยแล้ววางลงในsocket ดึงคันโยกลงล็อคขาCPUให้เรียบร้อย จากนั้นก็เอาheatsinkที่ติดกับพัดลมลงครอบทับและดึงเหล็กเข้าล็อคให้สนิทกับCPU อย่าลืมเสียบสายไฟ 12 volt เพื่อเลี้ยงพัดลมระบายความร้อนด้วยครับ
Write a Comment